Sunday, July 31, 2016
Thursday, July 28, 2016
Wednesday, July 27, 2016
ถอดบทเรียนแสงเทียนแห่งล้านนา โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ถอดบทเรียนแสงเทียนแห่งล้านนา การบริหารจัดการศึกษาขั้นเทพ
กรณีศึกษา การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน
๑. ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
จากสถานการณ์บ้านเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหามากมาย ประกอบด้วยการกระทำผิดกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การระบาดของสิ่งเสพติด และอบายมุข การแตกแยกทางความคิด การเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และการจาบจ้วงดูหมิ่นสถาบันหลักของชาติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการขาดสติ จิตสำนึก ศีลธรรมและคุณธรรมจริยธรรม อันจะส่งผลให้สังคมเกิดความขัดแย้ง
คณะสงฆ์ โดย เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดำริที่จะเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความสงบ สันติสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน โดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน กอรปกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการให้ทุกภาคส่วนในประเทศร่วมมือกันดำเนินการสร้างความปรองดองสมานฉันท์และทำให้ประชาชนมีความรักความสามัคคีกันโดยเริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งจะนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างปลอดภัยยั่งยืน
โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานราชการที่มีภารกิจในการส่งเสริมให้สังคมไทย มีศีลธรรม และคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา จึงได้กำหนดกิจกรรมในการสนับสนุนส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศทุกวัยได้นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปพัฒนาชีวิต ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยเน้นการรณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนให้มี “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ขึ้นในทุกส่วนของประเทศ ตามดำริที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ประทานโอวาทไว้ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ความว่า “อันว่าศีล ๕ เป็นการสำคัญมนุษย์ เมื่อทุกคนมีศีล ๕ ด้วยกัน สังคมนั้นๆ คือ ประชาชนย่อมจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อเป็นไปได้ ขอให้ชื่อหมู่บ้านนั้นว่า หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มอบหมายภารกิจให้ส่วนราชการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ แก่ประชาชนในชาติ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการพร้อมกันทั้ง ๗๖ จังหวัด ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ไว้เป็น ๒ ระดับ หรือ ๒ ระยะ ดังนี้
๑.๑ โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับ ๑ เก็บกำข้อมูล (Data Base)
โดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล จำนวน ๕,๙๑๔ หน่วยทั่วประเทศ ที่ได้ดำเนินการตามหัวข้ออบรม ๘ หัวข้อ คือ ศีลธรรมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สัมมาชีพ สันติสุข ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ กตัญญูกตเวทิตาธรรม และสามัคคีธรรม
โดยมอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับคณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรเครือข่ายชาวพุทธ ได้ขับเคลื่อนโครงการเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว โดยกำหนดเป้าหมายทุกตำบล ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ พร้อมทั้งตั้งเป้าตัวชี้วัด ให้เกิดสัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใน ๔ ปี (ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๖๐)
๑.๑.๑ วิธีการดำเนินการ
ให้วัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชนเปิดรับสมัครประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ หากมีประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ให้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕
หมู่บ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถขอรับแผ่นป้ายไม้หมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อติดตั้ง ณ หมู่บ้านของตน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ขณะนี้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้จัดสรรงบประมาณประชาสัมพันธ์ เชิญชวนประชาชนทั้งประเทศเข้าร่วมโครงการ โดยได้จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ส่งไปยังวัดทุกวัดทั่วประเทศแล้ว ขณะเดียวกันก็มีสถานศึกษา โรงเรียนต่างๆ ขอเข้าร่วมโครงการด้วย ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกลางโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ (วัดปากน้ำ) ก็ได้จัดทำป้ายไวนิลให้โรงเรียนที่ขอมาทั่วประเทศเช่นกัน
สำหรับหมู่บ้านที่ดำเนินการไปแล้ว มีประชาชนเข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ ๘๐ ให้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดทราบ เพื่อทางส่วนกลางจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมิน และจัดทำโล่ประกาศเกียรติคุณ เพื่อมอบให้หมู่บ้านนั้นต่อไป
๑.๑.๒ วิธีการสมัคร
๑. ท่านที่มีความตั้งใจจริงที่จะรักษาศีล ๕ และมีพันธสัญญาทางใจที่จะพัฒนาการรักษาศีลให้ได้เคร่งครัดต่อไป
๒. ติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่วัด สถานศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด หน่วย อบต. และที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ สำนักงานกลางโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ วัดปากน้ำ กทม. และรับของที่ระลึกโครงการ หรือ ดาวน์โหลดใบสมัครที่นี่
๓. ส่งใบสมัคร ณ สถานที่รับใบสมัครมา หรือ กรอกข้อมูลด้วยตนเองทางเว็บไซต์ www.sila5.com
๑.๒ โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับ ๒ ครอบครัวอบอุ่น (Happiness Family)
โครงการหมู่บ้านและโรงเรียนรักษาศีล ๕ ครอบครัวอบอุ่น (หรือโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับ ๒) คือโครงการนำธรรมะสู่ภาคปฏิบัติ ฝึกฝนพัฒนาให้เป็นนิสัย โดยรณรงค์ให้สมาชิกหมั่นทำ 7 กิจวัตรความดีจนเป็นนิสัย อันได้แก่ ๑) รักษาศีล ๕ ๒) สวดมนต์ นั่งสมาธิ ๓) จัดเก็บห้องนอน ห้องน้ำให้สะอาด เป็นระเบียบ ๔) จับดีคนรอบข้าง ๕) พูดจาไพเราะ ๖) บำเพ็ญประโยชน์ ๗) ร่วมกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ
เพราะ “นิสัยที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมที่สงบสุข” โดยยึดหลักการสำคัญ คือ “เปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ภายนอก” โดยอุปนิสัยที่รณรงค์ให้สมาชิกหมั่นปฏิบัติมีอยู่ ๗ ข้อ เรียกว่า ๗ กิจวัตรความดี ถ้าฝึกฝน พัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความอบอุ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่นำไปสู่คุณธรรมอื่น ๆ ที่สูงยิ่งขึ้นไป เช่นความเคารพ ความกตัญญู ความอดทนเสียสละ เป็นต้น
๑.๒.๑ เป้าหมายสำคัญ
๑. นำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักศีล ๕
๒. ครอบครัวอบอุ่น สังคมสงบสุข เกิดความปรองดองสมานฉันท์
๓. เด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ
๔. พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
๑.๒.๒ ๗ กิจวัตรความดี ประกอบด้วย
๑. รักษาศีล ๕
๒. สวดมนต์ นั่งสมาธิ
๓. จัดเก็บห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัวให้สะอาด เป็นระเบียบ
๔. คิดดี...ด้วยการจับดีคนรอบข้าง
๕. พูดดี...ด้วยการพูดจาไพเราะ
๖. ทำดี...ด้วยการทำบุญหรือบำเพ็ญประโยชน์อย่างน้อย ๑ เรื่อง
๗. ร่วมกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ ช่วงเวลาที่สมาชิกมาทำดีร่วมกัน ทั้งอาราธนาศีล ๕ สวดมนต์นั่งสมาธิ แบ่งปันประสบการณ์ที่ดี ๆ ที่เกิดจากการทำ ๖ กิจวัตรความดี และได้ฟังธรรมะที่ตอกย้ำความสำคัญของการทำ ๖ กิจวัตรความดี ซึ่งกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอนี้ จะช่วยเสริมสร้างกำลังใจในการทำความดีของสมาชิกให้มีความมั่นคง และ เข้มแข็งขึ้น
ข้อ ๑ – ๖ เป็นนิสัยประจำวัน ทำที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่ทำงานของตนเอง
ข้อ ๗ เป็นนิสัยประจำสัปดาห์ ร่วมกันในสถานที่ใช้เป็นศูนย์รวมใจสมาชิกหมู่บ้านหรือโรงเรียนรักษาศีล ๕
๑.๒.๓ ขั้นตอนกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอมีอะไรบ้าง ?
๑. ลงทะเบียน
๒. อาราธนาศีล
๓. สวดมนต์ทำวัตรเย็น
๔. นั่งสมาธิ
๕. อ่านธรรมะโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม (สลับหมุนเวียนกันแต่ละสัปดาห์)
๖. บรรยายธรรมะประกอบสื่อโดยวิทยากร
๗. พูดข้อคิดที่ได้โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม
๘. สรุปข้อคิดโดยวิทยากร
๙. แชร์ประสบการณ์ทำความดี
๑๐. อธิษฐานจิตร่วมกัน
๑๑. แจ้งข่าวสารต่างๆ อนุโมทนาบุญกับเจ้าภาพ
๑๒. ถ่ายรูปร่วมกัน
๑.๒.๔ ขั้นตอนดำเนินงาน
๒. แรงจูงใจที่ทำให้เขาหรือเราสนใจเรื่องนี้
คือ วิธีการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน ซึ่งได้รับนโยบายจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย โดยเริ่มจาก ระดับที่ ๑ คือ การเก็บกำข้อมูลแต่ละหมู่บ้านในเขตปกครองของตน ซึ่งได้ดำเนินการดังนี้
๑. ให้วัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชนเปิดรับสมัครประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ
๒. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจะได้รับขึ้นทะเบียนเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕
๓. หมู่บ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จะได้รับแผ่นป้ายไม้หมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อติดตั้ง ณ หมู่บ้านของตน พร้อมด้วยสถานศึกษา และโรงเรียนต่างๆ
๔. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ ๘๐ ทางส่วนกลางจะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมิน และจัดทำโล่ประกาศเกียรติคุณ เพื่อมอบให้หมู่บ้านนั้นต่อไป
ระดับที่ ๒ คือ การทำให้ครอบครัวอบอุ่น โดยรณรงค์เรื่องการนำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ฝึกฝนพัฒนาสร้างนิสัยที่ดี โดยการ “คิดดี พูดดี ทำดี” อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทั้งรูปธรรมและนามธรรม ได้คัดสรร คัดเลือกหมู่บ้านที่มีผลงาน และมีแนวปฏิบัติที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ในหมู่บ้านอยู่กันอย่างสันติสุข ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย ครอบครัวมีสุข ประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆมีความขยันหมั่นเพียร มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีกันทั่วหน้า ทำเป็นโครงการขึ้นมา ๑ โครงการ ๑ หมู่บ้าน ๑ ตำบล
จนถึงปัจจุบันนี้คณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน รวมทั้งอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการแล้ว ส่งโครงการฯ ให้เจ้าคณะจังหวัดแล้วทั้งสิ้น ๑๔๐ โครงการ ผลออกมาอย่างไรก็จะได้นำไปขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต่อไป ดังนั้นผู้ศึกษาจึงเกิดความสนใจเป็นอย่างยิ่งและอยากให้มีการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในระดับที่ ๓ อีกต่อไป
๓. สภาพก่อนที่จะดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
เนื่องด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหามากมาย ประกอบด้วยการกระทำผิดกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การระบาดของสิ่งเสพติด และอบายมุข การแตกแยกทางความคิด การเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และการจาบจ้วงดูหมิ่นสถาบันหลักของชาติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการขาดสติ จิตสำนึก ศีลธรรมและคุณธรรมจริยธรรม อันจะส่งผลให้สังคมเกิดความขัดแย้งมากขึ้น
๔. เหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสภาพการจัดทำโครงการ
คือ เรื่องของหลักศีลธรรมหรือหลักของศีล ๕ ซึ่งเป็นหลักจำเป็นในสังคมมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปกติ ทั้งในตนเองและสังคม เพราะช่วยควบคุมความประพฤติมิให้พลาดถลำลงในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจัดอยู่ในระดับศีลธรรมอันเป็นมูลฐานที่จะนำไปสู่ความสงบของจิตใจ ถ้าหากความสะอาดทางกายและวาจาไม่มีแล้ว เราก็ไม่สามารถทำจิตใจให้สงบได้ แต่ในทางกลับกันคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ส่วนมากเป็นเพียงตามทะเบียนบ้านเท่านั้น ถ้าชาวพุทธไม่ช่วยกันดำรงรักษาประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักศีล ๕ ข้อแล้ว อนาคตก็มีผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสสร้างความแตกแยกระหว่างชาวพุทธด้วยกันและสังคมในชาติอันเป็นบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาในประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญต่อการนำพระดำริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้มีโครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อเสริมสร้างและสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เกิดความสงบ สันติสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการสร้างความปรองดองสมานฉันท์
๕. จุดหมายใหม่ของโครงการ
คือ ดำเนินกิจกรรม “ศีล ๕ สัญจร บวรร่วมมือ”
๕.๑ วิสัยทัศน์
“คิดดี พูดดี ทำดี”
๕.๒ เป้าหมายสำคัญ
๑. นำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิงหลักศีล ๕
๒. ครอบครัวอบอุ่น สังคมสงบสุข เกิดความปรองดองสมานฉันท์
๓. เด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ
๔. พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
๕.๓.เป้าประสงค์
- ด้านปริมาณ คือ เริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ทั่วประเทศ
- ด้านคุณภาพ คือ คนในหมู่บ้านมีศีล ๕ ผู้คนอยู่กันอย่างสันติสุข ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย ครอบครัวมีสุข มีความขยันหมั่นเพียร มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีกันทั่วหน้า
๖. MBI นวัตกรรมมีการบริหารงานอย่างไร?
ขณะนี้กำลังอยู่ที่การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “ศีล ๕ สัญจร บวรร่วมมือ” โดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายร่วมกับจังหวัดเชียงราย เป็นโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านศีล ๕” ระยะที่ ๓ ระดับคุณภาพ ณ วัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ดำเนินงานโดย คณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
โดย Phra Somsack Vilayphonh
รหัสนักศึกษา ๕๘๘๙๑๔๐๐๕
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Thursday, July 7, 2016
Tuesday, July 5, 2016
ເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ
ເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ
• ປະຫວັດໃນປັດຈຸບັນ
ເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ ຕັ້ງຢູ່ໃນເຂດທີ່ເຄີຍເກາະເຂີນເຊິ່ງໄດ້ຫາຍສາຍສູນໄປແລ້ວ ພາຍຫຼັງທີ່ນ້ຳຂອງໄດ້ປ່ຽນທາງເດີນນ້ຳ ຍັງຄົງເຫຼືອຮ່ອງຮອຍຂອງເມືອງເປັນບຶງໂຄ້ງຍາວປະມານ
3ກິໂລແມັດ ເອີ້ນວ່າ ໜອງວັງຄຳ ທີ່ຕັ້ງຂອງເມືອງຕົ້ນເຜິ້ງ ຫຼື ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳຍັງເປັນສຸດເຂດຕາເວັນຕົກຂອງປະເທດລາວ
ຄື ຫ່າງຈາກເມືອງຫ້ວຍຊາຍໄປທາງທິດຕາເວັນຕົກປະມານ
40 ກິໂລແມັດທາງບົກ ຫຼື 60 ກິໂລແມັດທາງນ້ຳ. ເປັນບູຮານສະຖານບັນຈຸຮ່ອງຮອຍທາງປະຫວັດສາດແຫ່ງນະຄອນບູຮານເກົ່າແກ່ເອີ້ນວ່າ ນະຄອນສຸວັນນະໂຄມຄຳ ເຊິ່ງຕໍ່ມາກາຍເປັນ ນາຄະນະຄອນ,ນະຄອນຊຽງລາວ,ນະຄອນເງິນຍວງ(ເງິນຍາງ),ຫິຣັນນະຄອນ ແລະ ນະຄອນຊຽງແສນ(ເກົ່າ).ມີບູຮານສະຖານ
44 ແຫ່ງ ສ້າງໂດຍດິນຈີ່ ແລະ ປູນ ໄດ້ແກ່: ພຣະອຸໂປສົດ,ພຣະທາດ,ພຣະພຸດທະຮູບ,ໜອງນ້ຳ ຯລຯ. ສິ່ງທີ່ຍັງຄົງງົດງາມ ແລະ
ສະຫງ່າຕະການຕາທີ່ເຫຼືອໃຫ້ເຫັນ ທີ່ສາມາດລອດພົ້ນຈາກການປຸ້ນສົມບັດໃນສະໄໝກ່ອນໄດ້ແກ່:ພຣະພຸດທະຮູບປາງສະມາທິ ສ້າງໂດຍດິນຈີ່ ແລະ ປູນ.
ເປັນພຣະພຸດຮູບອົງໃຫຍ່ເຊິ່ງມີຄວາມ ກວ້າງໜ້າຕັກ 7.10
ແມັດ,ຄວາມສູງ 7.22 ແມັດ,ບ່າແຕ່ລະຂ້າງມີຂະໜາດ
1.10 ແມັດ,ດ້ານຂ້າງແຕ່ກະໂພກເຖິງເຂົ່າ
3.60 ແມັດ ນັບວ່າເປັນພຣະພຸດທະຮູບທີ່ໃຫຍ່ອົງໜຶ່ງຂອງລາວ ແລະ ອາຊີຕາເວັນອອກສຽງ ໃຕ້.ດ້ວຍຂະໜາດທີ່ໃຫຍ່ຂອງພຣະພຸດທະຮູບໄດ້ມີການສັນນິຖານວ່າເປັນພຣະພຸດທະຮູບປະຈຳວັດຂອງພຣະຣາຊະວັງ.ນອກນີ້ຍັງມີອີກອົງໜຶ່ງທີ່ມີຂະໜາດເກືອບເທົ່າກັນແຕ່ຖືກນ້ຳກັດເຊາະພັງທະລາຍໄປແລ້ວ ນັ້ນກໍຄືພຣະນະ ວະລ້ານຕື້ ຫຼື ພຣະຣັດສະໝີທອງສຳລິດທີ່ຈົມຢູ່ໃຕ້ແມ່ນ້ຳຂອງທີ່ດອນແຫ້ງຂອງລາວເຮົາ. ປູຊະນິຍະສະຖານທີ່ເຫຼືອຢູ່ນີ້ສ່ວນຫຼາຍມາຈາກຍຸກນະຄອນຊຽງແສນເກົ່າ ສະໄໝພຣະເຈົ້າໄຊເສດຖາທິຣາດ ເຊິ່ງພຣະອົງໄດ້ຊົງຮັບສັ່ງໃຫ້ສະຖາປະນາບູລະນະໃຫ້ເປັນນະຄອນທີ່ສວຍສົດງົດງາມເທິງສອງຝາກຝັ່ງແມ່ນ້ຳຂອງ ເຊິ່ງມີສູນກາງທາງຝັ່ງຊ້າຍຂອງແມ່ນ້ຳຂອງເຊິ່ງກໍແມ່ນເມືອງຕົ້ນເຜິ້ງນັ້ນເອງ.ນະຄອນນີ້ຖືກທຳລາຍຈາກການຮຸກຮານຂອງກອງທັບພະມ້າ ໃນສະໄໝຂອງພຣະເຈົ້າໄຊເສດຖານັ້ນເອງ.ອັນເປັນເຫດໃຫ້ດິນແດນລ້ານນາຖືກຍຶດ
ແລະ ແຍກອອກຈາກດິນແດນລ້ານຊ້າງໃນເວລາຕໍ່ມາ.
• ປະຫວັດໃນອະດີດ
ໃນຕຳນານນະຄອນໂຍນົກ
ຂອງເຈົ້າຄຳໝັ້ນ ວົງກົດຣັຕຕະນະ
ກ່າວໄວ້ມີຂໍ້ຄວາມດ່ັງນີ້:
“ພຣະເຈົ້າສີລິວົງສາ ກະສັດຂອງງນະຄອນໂພທິສານຫຼວງ
(ນະຄອນໂຄຕະປຸຣະ
ຫຼື ໂຄຕະບູນ ຫຼື ສີໂຄ ຕະບອງ ຢູ່ໃນເຂດເມືອງທ່າແຂກ ແຂວງຄຳມ່ວນໃນປັດຈຸບັນ) ມີພຣະຣາຊະບຸດ ໒ ພຣະອົງ,
ອົງແຮກມີພຣະນາມ
ວ່າ ອິນທຣະວົງສາ ແລະ ອົງນ້ອງພຣະນາມວ່າ
ໄອຍະກຸມານ ເມື່ອພຣະຣາຊະບິດາສະຫວັນນະ
ຄົດແລ້ວ
ໂອຣົດທັງສອງອົງອ້າຍກໍຂຶ້ນຄອງຣາດຊະສົມບັດ ແລະ ອົງນ້ອງເປັນອຸປາຣາດ ພຣະຍາອິນທະວົງສາ ມີໂອຣົດຊົງພຣະນາມວ່າ
ພຣະຍາອິນປະຖົມ ແລະ ພຣະຍາໄອກຸມານມີພຣະທິດາຊົງ
ພຣະນາມວ່າ ນາງອູຣະສາ(ຄົງຈະເປັນ ໂອຣະສາ ພາສາໄທລື້ ) ແລະ ພຣະໂອຣົດ ພຣະທິດາທັງສອງພຣະອົງໄດ້ອະພິເສກສົມຣົດກັນ, ຄັນເມື່ອພຣະ ພຣະຍາອິນທະວົງສາສະຫວັນນະຄົດ
ພຣະຍາອິນປະຖົມກຸມານ ກໍຂຶ້ນຄອງຣາຊະສົມບັດແທນ. ພຣະຍາໄອກຸມານ ຜູ້ເປັນອາວ ແລະ ພໍ່ເຖົ້າ ໄດ້ສະລະຕຳແໜ່ງມະຫາອຸປາຣາດ ແລ້ວພາບໍຣະວານເດີນຂຶ້ນຕາມລຳແມ່ນຳ້ຂອງ
ເປັນເວລາ ໓ ເດືອນ ຈຶ່ງເຖິງດອນເຂີນ
ເຊິ່ງຕັ້ງຢູ່ດ້ານ
ຊ້າຍປາກແມ່ນ້ຳກົກ ທິດຕາເວັນຕົກ ພຣະຍາໄອກຸມານ ຈຶ່ງຕັດສິນໃຈຕັງຣາຊະນະຄອນທີ່ດອນເຂີນ ອັນປະກອບດ້ວຍຄົວເຮືອນເບື້ອງຄົ້ນ ໓.໐໐໐ ຄົວເຮືອນ. ຂະນະນັ້ນ
ຂ່າວດີກໍໄດ້ມາເຖິງພຣະອົງວ່າ
ພຣະທິດາຂອງພຣະອົງກໍໄດ້ປະສູດພຣະໂອຣົດ
ທີ່ມີເຕຊານຸພາບແຕ່ຍັງປະສູດ
ແລະຕໍ່ມາກໍເກີດອະພິນິຫານຂຶ້ນຫຼາຍຢ່າງ
ໃນຣາຊະສຳນັກນະຄອນ ໂຄຕະປຸຣະ(ໂຄຕະບູນ)
ອັນເປັນສາເຫດໃຫ້ອາມາດຣາຊະມົນຕີຢ້ານໄພພິບັດທຳໃຫ້ບ້ານເມືອງ
ຫຼົ້ມຈົມ. ເມື່ອເສນາອາມາດນຳຄວາມຂື້ນທູນພຣະບິດາຜູ້ເປັນພຣະເຈົ້າແຜ່ນດິນ,ພຣະອົງເລີຍຮັບສັ່ງໃຫ້ເອົາພຣະມະເຫສີ
ແລະ
ຣາຊະບຸດໃສ່ແພລອຍນ້ຳ ຄັນເມື່ອພຣະເຈົ້າໄອຍະກຸມມານຊົງຊາບເລື່ອງນີ້ກໍເສີຍພະໄທຢ່າງຍິ່ງ ຈຶ່ງໄດ້ຮັບສັ່ງໃຫ້ໄພ່ຟ້າຣາຊະດອນທຳການບູຊາໂດຍຈູດທູບທຽນ,ໂຄມໄຟ ແລະ ປະທີບບູຊາພະຍານາກ
ໃຫ້ສະຫວ່າງທົ່ວແມ່ນ້ຳຂອງເປັນເວລາ 7
ວັນ 7 ຄືນເພື່ອຂໍໃຫ້ພະຍານາກຊູເອົາເຮືອຂອງພຣະມະເຫສີ ແລະ ກຸມມານນ້ອຍໄວ້ບໍ່ໃຫ້ໄຫຼລົງສູ່ທະເລ(ຕຳນານເລົ່າໄວ້ວ່າພະຍານາກໄດ້ສ້າງຫຼີ່ຜີຂື້ນ ຈຶ່ງປາກົດເປັນດອນຂີ້ນາກ
ເພື່ອກັ້ນແມ່ນ້ຳຂອງ ເຮັດໃຫ້ແພຂອງອົງກຸມມານນ້ອຍໄຫຼຂື້ນເໜືອຈົນເຖິງເກາະເຂີນ)
ການທີ່ ບູຊາພະຍານາກໂດຍການຈູດທູບ,ທຽນ,ໂຄມໄຟ ໄປຕາມແມ່ນ້ຳຂອງນີ້ເອງ ຈຶ່ງເກີດມີປະເພນີໄຫຼເຮືອໄຟຂອງລາວເຮົາຄັ້ງທຳອິດ
ແລະ ປະຕິບັດກັນແຕ່ນັ້ນມາຈົນເຖິງປັດຈຸບັນ. ດ້ວຍເຫດນີ້ເອົງຊຸມຊົນທີ່ຕັ້ງຂື້ນເທິງເກາະເຂີນ
ຈຶ່ງໄດ້ຖືກຂະໜານນາມວ່າ ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳ
ຕາມຊື່ກຸມມານນ້ອຍນັ້ນ ເຊິ່ງມີນາມວ່າ ສຸວັນນະມຸຂະທາວາຣະ ແລະ ໂຄມເຊ່ິງຈູດບູຊາພະຍານາກເຊິ່ງເອີ້ນວ່າ ໂຄມຄຳ. ຕາມຕຳນານຂອງປະເທດສີລັງກາ ເຊິ່ງທ່ານຟັງຊິດການເຍ
ຂຽນໄວ້ໃນໜັງສືສຳຫຼວດແມ່ນ້ຳຂອງ ຂອງທ່ານໃນສະຕະວັດທີ XIX
ກ່າວໄວ້ວ່າເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳປາກົດຕົວໃນສະຕະວັດທີ
V ຂອງຄຣິດຕະການ ແລະ ຕາມຕຳນານນ້ຳຖ້ວມໂລກຊຶ່ງໄດ້ກ່າວເຖິງພຣະຍາສີສັດຕະນາກ ທີ່ຄອງເມືອງໜອງກະແສແສນຍ່ານ ໄດ້ນຳກຳລັງ 7
ໂກດ(7 ພັນລ້ານຄົນ)ຍົກລົງມາຕາມແມ່ນ້ຳຂອງ ແລະ ເປັນຕົ້ນກຳເນີດຂອງນາກ 15 ຕະກູນໃນຫຼວງພະບາງ ແລະ ຕໍ່ມາຊາວເມືອງໂພທິສານຫຼວງ(ສີໂຄດຕະບູນ ຫຼື ສີໂຄດຕະບອງ ເປັນຊື່ຂອມ).
ຕຳນານຍັງບອກວ່າເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳນັ້ນເຕີບໂຕຢ່າງວ່ອງໄວພຽງແຕ່ 3 ປີເທົ່ານັ້ນ ບ້ານເມືອງຂອງຣາຊະດອນມີເຖິງ 3
ແສນຫຼັງ.ແຕ່ຕໍ່ມາມີການປະພຶດບໍ່ຊື່ສັດກັບພໍ່ຄ້າ
ເຊິ່ງເປັນພວກນາກຊາວຫຼວງພະບາງ
ເຮັດໃຫ້ເກີດການຂັດແຍ້ງກັນ ຊາວຫຼວງພະບາງຈຶ່ງໄດ້ນຳກຳລັງມາບຸກທຳລາຍເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳຈົນຮາບຄາບ ເຮັດໃຫ້ຊາວເມືອງແຕກຕື່ນອົບພະຍົບໄປທຸກທິດທາງ ເຊັ່ນ:ໜີເຂົ້າອຸໂມງໄປສີສັດສະນາໄລ ແລະ
ຫຼວງພະບາງ ໂດຍໄດ້ນຳປະເພນີໄຫຼເຮືອໄຟໄປປະຕິບັດ ຈຶ່ງເກີດມີການແພ່ຂະຫຍາຍວັດທະນະທຳນີ້ຢ່າງກວ້າງຂວາງ. ຕໍ່ມາຍັງມີຕະກູນນາກລາວຈົກ ຄືລາວທາງພາກເໜືອຂອງແຂວງຊຽງຣາຍ(ໄທ)ໄດ້ມາສ້າງນະຄອນສຸວັນນະໂຄມຄຳຂື້ນອີກຄັ້ງ ຕາມຕຳນານມີກຳແພງເມືອງອ້ອມຮອບ 4 ດ້ານ ແຕ່ລະດ້ານຍາວ 3 ພັນວາ. ດ້ວຍເຫດນີ້ ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳທີ່ຫາຍສາບສູນໄປແລ້ວຈຶ່ງໄດ້ຊ່ຶເອີ້ນໃໝ່ວ່າ ນາເຄນທະຣະນະຄອນ,ນາກບູຣີ,ເມືອງນາກພັນທຸສີງຫະນະວັດນະຄອນ ຫຼື ນະຄອນຊຽງລາວເນື່ອງຈາກວ່າຊາວລາວພາກ ເໜືອ(ນາກ)ເປັນຜູ້ສ້າງຂື້ນນອກຈາກຊື່ຕ່າງໆແລ້ວນັ້ນ ໃນຕຳນານຕ່າງໆຂອງຊາວລາວພາກເໜືອ ແລະ ຕຳນານ
ທ້າວຮຸ່ງ-ທ້າວເຈືອງ ໄດ້ເອີ້ນວ່າ
ນະຄອນເງິນຍາງ
ຫຼື ນະຄອນເງິນຍວງ ຕໍ່ມາເມື່ອພະຍາ
ແສນພູໄດ້ຂື້ນຄອງເມືອງດັ່ງກ່າວໄດ້ອີກຊື່ໜຶ່ງວ່າ
ນະຄອນຊຽງແສນ(ເກົ່າ). ຕະກູນລາວຈົກໄດ້ຄອງນະຄອນຊຽງລາວ,ນາກບູຣີ ຫຼື ນະຄອນເງິນຍາງມາຕະຫຼອດ 43
ຣາຊະສະໄໝ
ຈົນເຖິງສະໄໝຂຸນເຈືອງ ກະສັດລາວຜູ້ທຳອິດທີ່ລວບລວມເຜົ່າຕ່າງໆໃຫ້ເປັນອານາຈັກດຽວກັນຢູ່ທາງ
ພາກເໜືອ ເມື່ອ ຄ.ສ 1096 ຂຸນເຈືອງໄດ້ຍົກກອງທັບມາພິຊິດຫຼວງພະບາງ,ຊຽງຂວາງ ແລະ ເມືອງປະກັນ(ແຄວ້ນແກວຈີ
ຂອງຫວຽດນາມ)ຈາກນັ້ນກໍລວມເປັນອານາຈັກດຽວກັນ
ໂດຍສະເພາະລວມ
ຕະກູນນາກ ແລະ ຕະກູນຂອມເຂົ້າດ້ວຍກັນ
ສະນັ້ນຈຶ່ງຖືໄດ້ວ່າພຣະອົງເປັນກະສັດຜູ້ຍິ່ງໃຫຍ່ພຣະອົງໜຶ່ງຂອງບັນດາຊົນຊາດລາວ.ອານາຈັກຂອງຂຸນເຈືອງຫຼົ້ມສະລາຍໃນຣາຊະສະໄໝທີ 4 ຂອງກະສັດຫຼວງພະ ບາງຄື ສະໄໝຂອງຂຸນກັນຮາງ ຜູ້ເຊິ່ງເປັນເຫຼັນໂຫຼນຂອງຂຸນເຈືອງ ຫຼັງຈາກພ່າຍແພ້ໃຫ້ແກ່ກອງທັບຂອງຂຸນລໍ ທີ່ຍົກທັບມາຈາກເມືອງແຖນ(ດຽນບຽນຟູ
ຂອງຫວຽດນາມ). ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳເຊິ່ງເປັນຊື່ເອີ້ນທຳອິດຂອງນະຄອນບູຮານແຫ່ງນີ້ ນັບວ່າໄດ້ຜ່ານການຖືກທຳລາຍ ແລະ
ສ້າງຂື້ນໃໝ່ຫຼາຍຄັ້ງຫຼາຍຫົນ ແລະ
ມີຊື່ເອີ້ນຕ່າງໆນາໆ
ໃນທີ່ສຸດກໍ່ເຫຼືອໃຫ້ພຽງແຕ່ເມືອງຮ້າງທີ່ ໜ້າສະເທືອນໃຈ. ປັດຈຸບັນນີ້ພະແນກວັດທະນະທຳແຂວງບໍ່ແກ້ວ ແລະ ກະຊວງຖະແຫຼງຂ່າວ ແລະ ວັດທະນະທຳ ໄດ້ມີມາດຕະການອະນຸລັກ ແລະ
ປະກາດເປັນປູຊະນິຍະສະຖານແຫ່ງຊາດ
ເປັນສະຖານທີ່ອະນຸລັກ
ແລະ ຫວງຫ້າມ ເປັນອຸທິຍານແຫ່ງການສຶກສາຫາຄວາມຮູ້,ແຫຼ່ງທ່ອງທ່ຽວ ແລະ ພັກຜ່ອນຍ່ອນໃຈຂອງຄົ້ນຄວ້າ,ນັກສຶກສາ ແລະ ນັກອະນຸລັກນິຍົມ.ນອກຈາກນີ້ລັດຖະບານລາວ-ໄທຍັງໄດ້ມີຄວາມຮ່ວມມືກັນໃນການຮ່ວມກັນ ຂື້ນທະບຽນເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ(ລາວ)
ແລະ ເມືອງຊຽງແສນເກົ່າ(ໄທ)ຂື້ນເປັນມໍລະດົກໂລກຮ່ວມກັນອີກດ້ວຍ. ອອກໄປບໍ່ໄກຈາກປູຊະນິຍະສະຖານແຫ່ງນີ້ ມີສິ່ງດຶງດູດໃຈນັກທ່ອງທ່ຽວທີ່ມາສະຖານທີ່ແຫ່ງນີ້ຄື:ບໍ່ນຳຮ້ອນ,ຕົ້ນໄມ້ຫາຍາກຫຼາຍຊະນິດ, ຮ່ອງຮອຍອະດີດສາມຫຼຽມຄຳ,ຖ້ຳຄູຫາ ແລະ ວິຖີຊີວິດຂອງຊົນເຜົ່າຕ່າງໆ ທີ່ຫຼາກຫຼາຍ ນອກຈາກນີ້ພໍຮອດມື້ບຸນອອກພັນສາ ກໍຈະໄດ້ເບິ່ງການໄຫຼເຮືອໄຟບູຊາພະຍານາກ ບ່ອນທີ່ເປັນຕົ້ນກຳເກີດຂອງປະເພນີນີ້ ແລະ
ເມື່ອເຖິງລະດູດອກງິ້ວບານ
ກໍຈະມີການຈັດປະກວດນາງສາວດອກ
ງິ້ວບານ ແລະ ມີຮ້ານຂາຍເຄື່ອງຂອງທີ່ລະນຶກຕ່າງໆ.
ເຂດເສດຖະກິດພິເສດສາມຫຼ່ຽມຄຳ
ເຂດເສດຖະກິດພິເສດສາມຫຼ່ຽມຄຳ
Kings Romans of Laos ASEAN economic & tourism
development zone ເຂດພັດທະນາເສດຖະກິດ ແລະ ການທ່ອງທ່ຽວໃນພື້ນທີ່ອາຊຽນ Entertainment Area ຄົບວົງຈອນດ້ວຍເງິນລົງທຶນກວ່າ 3 ພັນລ້ານໂດລາ ຂອງກຸ່ມທຶນຈີນ
ທີ່ເດີນໜ້າເນລະມິດ
ພື້ນທີ່ 827 ເຮັກຕາ ຫຼື 5168.75 ໄຮ່ ເຊິ່ງມີກຳນົດ
ເປີດບໍລິການເຂດທຳອິດ
ໃນວັນທີ 09.09.2009 ເວລາ 9:09
ໂມງ ຈະມີສ່ວນໃນການປ່ຽນໂສມໜ້າໃໝ່ຂອງສາມຫຼ່ຽມຄຳ ລວມເຖິງອະນາຄົດ ການຄ້າ-ການລົງທຶນໃນເຂດລຸ່ມນ້ຳຂອງຕອນເທິງ.
ພາຍໃຕ້ຄວາມຮ່ວມມືລະຫວ່າງບໍລິສັດດອກງິ້ວຄຳໜຶ່ງໃນກຸ່ມທຶນຈາກ ສ.ປຈີນ ທີ່ເຂົ້າມາສຳປະທານເນື້ອທີ່ 827
ເຮັກຕາໃນເມືອງຕົ້ນເຜິ້ງ
ແຂວງບໍ່ແກ້ວ ສປປລາວ ເພື່ອສ້າງ ສະຖານບັນເທິງຄົບວົງຈອນ
ແຄມນ້ຳຂອງ ມູນລະຄ່າ 3 ພັນລ້ານໂດລາ ດ້ວຍອາຍຸສຳປະທານນານເຖິງ 75 ປີ ແລະ
ສາມາດຕໍ່ອາຍຸໄດ້ອີກ 14 ປີ ລວມ 99
ປີ. ມີທ່ານ ຊຸນ ລີ່ເວີນ ກຳມະການຜູ້ຈັດການ
ບໍລິສັດຈິນມູເໝິນ ຈຳກັດ.
ກຸ່ມບໍລິສັດດອກງິ້ວຄຳ
ໄດ້ທຸ່ມທຶນເພື່ອສ້າງໃຫ້ເປັນເຂດເສດຖະກິດການຄ້າ ແລະ ການບໍລິການຢ່າງຄົບວົງຈອນ ຮອງຮັບຄວາມຮ່ວມມືຂໍ້ຕົກລົງວ່າດ້ວຍ ເຂດການຄ້າເສລີອາຊຽນ FTA(FREE TRADE AREA)ລະຫວ່າງຈີນ ແລະ ອາຊຽນ ພາຍໃນອີກ 10 ປີຕໍ່ໜ້າ.
ພາຍໃນເຂດເສດຖະກິດພິເສດນີ້ຈະປະກອບດ້ວຍ:
ແນວປ້ອງກັນຕາຝັ່ງເຈື່ອນ, ຖະໜົນ, ໂຮງຮຽນ,
ຮ້ານອາຫານ, ໂຮງໝໍ, ໂຮງແຮມ,
ອາຄານພານິດ, ຕະຫຼາດ, ຊຸບເປີມາກເກັດ, ສະໜາມກ໊ອບຂະໜາດ 36 ຂຸມ,
ເຂດຫັດຖະກຳ, ອຸດສາຫະກຳເບົາ, ເຂດທ່ອງທ່ຽວດອນຊາວ, ເຂດຜະລິດຕະພັນຢາສະໝຸນໄພ ແລະ ອື່ນໆ.
ເພື່ອຮອງຮັບການລົງທຶນຕໍ່ໄປ.
ຈາກນີ້ເຖິງປີ 2017 ຈະມີການລົງທຶນອີກ 2,914 ລ້ານໂດລາເພື່ອພັດທະນາ ເປັນເຂດເສດຖະກິດການຄ້າ ແລະ ການບໍລິການຢ່າງຄົບວົງຈອນຕາມເປົ້າໝາຍຢ່າງເຕັມຮູບແບບ
ໂດຍຈະເນັ້ນ ພັດທະນາເປັນເຂດທ່ອງທ່ຽວທາງທຳມະຊາດ ແລະ
ວັດທະນະທຳອາຊຽນ-ຈີນ, ເຂດການຄ້າປອດພາສີ, ເຂດພັດທະນາອຸດສາຫະກຳການກະສິກຳ-ລ້ຽງສັດຄົບວົງຈອນ, ເຂດພັດທະນາການສຶກສາ, ສາທາລະນະສຸກ, ເຂດສູນກາງການສົ່ງອອກ, ເຂດພັດທະນາໄອຊີທີ-ຄອມພິວເຕີ, ສູນບໍລິການການເງິນ-ທະນາຄານ ແລະ
ສູນບໍລິການດ້ານການຂົນສົ່ງ
ຯລຯ. ໂຄງການທັງໝົດແບ່ງອອກເປັນ 32 ໂຊນ, ໂຊນທີ 23 ແມ່ນທ່າເຮືອຢູ່ນ້ຳຂອງ, ໂຊນທີ 1-8 ເປັນ ໂຮງແຮມລະດັບ 5 ດາວ ແລະ ອາຄານຕ່າງໆ,ໂຊນທີ 18 ແມ່ນເກາະດອນຊາວເປັນເຂດຮ້ານຄ້າ ປອດພາສີ
ຯລຯ. ເຊິ່ງໂຄງການນີ້ເປັນ 1 ໃນ 80 ຄາສິໂນໃຫຍ່ອ້ອມຮອບຊາຍແດນຂອງ ສ.ປຈີນ(ເຂດພະມ້າ,ລາວ ແລະ ຫວຽດນາມ).
ໂຄງການໃຫ້ຄວາມສຳຄັນຕໍ່ການທ່ອງທ່ຽວຫຼາຍ
ແລະ ເຫັນວ່າຜູ້ປະກອບການທ່ອງທ່ຽວຈາກປະເທດໄທ
ມີຄວາມສຳຄັນ ສາມາດຮ່ວມມືກັບໂຄງການໃນການພັດທະນາການທ່ອງທ່ຽວໄດ້ອີກຢ່າງຫຼວງຫຼາຍ ທັງນີ້ປະຈຸບັນໂຄງການໄດ້ແບ່ງການພັດທະນາອອກເປັນ
5 ໂຊນຄື: ໂຊນ A ເປັນເຂດເສດຖະກິດພິເສດເນັ້ນດ້ານການຄ້າພານິດ ກາສິໂນ ແລະ ອື່ນໆ, ໂຊນ B ເປັນກິດຈະການທ່າເຮືອ, ໂຊນ C ເປັນກິດຈະການດ້ານວັດທະນະທຳ, ໂຊນ D ເປັນກິດຈະການດ້ານບູຮານສະຖານ ແລະ ໂຊນ E ເປັນເຂດການທ່ອງທ່ຽວທຳມະຊາດ
ມຸ້ງເປັນສູນກາງເສັ້ນທາງການທ່ອງທ່ຽວ
ຈາກ ສິບສອງປັນນາ ແລະ ຫລວງພະບາງ. ລວມທັງ
ແຂວງຊຽງໃໝ່-ບາງກອກ
ຂອງປະເທດໄທດ້ວຍ “ອີກປະມານ 10 ປີໂຄງການກໍຈະສຳເລັດສົມບູນ ແລະ
ຈະມີປະຊາກອນໃນພື້ນທີ່ເພີ່ມຫລາຍຂຶ້ນເຖິງກວ່າ 200,000
ຄົນ ແລະ ເຮົາເຫັນວ່າດ້ານການທ່ອງທ່ຽວເປັນສິ່ງສຳຄັນສຳລັບການພັດທະນາພື້ນທີ່ນີ້ຫຼາຍ. ປະຈຸບັນກໍຄືບໜ້າໄປຢ່າງຕໍ່ເນື່ອງທັງການກະສິກຳ,ໂຮງແຮມ, ບ່ອນຄາສິໂນ…ຫຼ້າສຸດຫ້າງສັບພະສີນຄ້າເອດິສັນ
ຈາກປະເທດໄທ ກໍກຽມຈະໄປເປີດກິດຈະການໃນໂຄງການ
ຂະນະດຽວກັນມີກຸ່ມທືນ ຈາກຈີນຫລາຍກຸ່ມສົນໃຈເຂົ້າໄປລົງທືນ.
ສຳລັບການພັດທະນາເຂດການທ່ອງທ່ຽວ
ໃນໂຄງການນີ້
ໄດ້ແບ່ງອອກເປັນ 6 ໂຊນ,
ໄດ້ແກ່ໂຊນ 1 ຈັດໃຫ້ເປັນສະຖານທີ່ທ່ອງທ່ຽວທາງປະຫວັດສາດກ່ຽວກັບຂຸນສ່າ ຊຶ່ງກ່ຽວຂ້ອງກັບຊາຍແດນດ້ານນີ້,
ໂຊນ 2 ເກາະດອນຊາວໂດຍກ່ຽວຂ້ອງກັບດອກງິ້ວ ແລະ
ຕະຫລາດສິນຄ້າຊາຍແດນ, ໂຊນ 3 ຊຸມຊົນພະມ້າໂດຍຈັດໃຫ້ເປັນສູນກາງກ່ຽວກັບຊາວພະມ້າ, ໂຊນທີ 4 ບູຮານສະຖານອານາຈັກເກົ່າແກ່ສຸວັນນະໂຄມຄຳ, ໂຊນ 5 ທ່າເຮືອບ້ານມອມ ຊຶ່ງມີຕະຫຼາດ ແລະ ຊຸມຊົນລາວ ແລະ ໂຊນ 6
ທຳມະຊາດຂອງສວນປ່າ
ແລະ ໄມ້ດອກໄມ້ປະດັບ.
บทความเรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21
บทความเรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21
พระสมศักดิ์ สมจิตฺโต
นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
บทนำ
เป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษา คือ การสร้างคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าไปในวิถีทางที่เหมาะสม นานาประเทศที่เจริญแล้วจึงมุ่งใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการหล่อหลอมทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่มุ่งหวังดังกล่าว
โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบทซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มักด้อยโอกาสในการได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ
1.การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ในศตวรรษที่ 21
เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการการศึกษาเป็นอย่างมาก ในศตวรรษก่อนหน้านั้นมีทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสอนใหม่ ๆ เกิดขึ้น ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ รวมไปถึงผลการวิจัยทางด้านสมอง (Brain research) ซึ่งให้มุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเดิม จากการสอนที่เน้นให้ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยอาศัยความสามารถและจิตวิทยาการสอนส่วนตัว มาเป็นการให้ครูนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาของการเรียนรู้มาใช้ในการจัดเตรียมการสอนการสอน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี (Instruction) ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติและกระทำด้วยตนเอง
การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ในศตวรรษที่ 21 สามารถทำได้จริงหรือไม่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของไทย ไดมีพัฒนาการ มาเป็นระยะ ๆ ตามกาลเวลาในสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง การศึกษาสมัยปฏิรูปการศึกษา (2435-2475) สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลักสูตรพุทธศักราช 2521-2524
หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) มาจนถึงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และได้เปลี่ยนเป็น
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรดังกล่าว เป็นหลักสูตรแกนกลางที่ใช้ในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนไทย และถึงแม้ว่าจะมีการจัดอบรมครูเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานหลายต่อหลายครั้ง ก็ยังไม่สามารถทำให้ครูเข้าใจถึงหลักสูตรแกนกลางอย่างถ่องแท้ว่าควรจะพัฒนาผู้เรียนไปในทิศทางใดจึงจะเหมาะสม ถูกต้อง และให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามความต้องการได้
การนำทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสอนจากอดีต มาสู่ศตวรรษที่ 21 แนวคิดเหล่านั้นยังมีอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพียงแต่ครูผู้สอนจะนำทฤษฎีการเรียนรู้เหล่านั้น มาสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างไร
ทิศนา แขมมณี รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงศตวรรษที่ 20 และการประยุกต์สู่การสอนว่า “ทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 นั้น เริ่มมีลักษณะของความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีการทดลองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นลำดับ และสามารถจัดทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)”
ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้ ครูหลายท่านสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้หากกล่าวถึงศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายความสามารถของครู เพราะเป็นยุคที่ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ สามารถรับรู้ได้เพียงแค่คลิกที่ปลายนิ้ว ครูจำเป็นต้องปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะชีวิต ทักษะการคิด และทักษะทางด้านไอที อย่างถูกต้องและเหมาะสม
The Flipped Classroom หรือ การจัดการเรียนรู้แบบ “พลิกกลับ” คือวิธีการเรียนแนวใหม่ที่พลิกจากการเรียนในตำราการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ คือ เริ่มจากครูผู้สอน สอนในห้องเรียน ให้นักเรียนกลับไปทำการบ้านส่ง มาเปลี่ยนเป็นการจัดการเรียนรู้แบบพลิกกลับนั้น คือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่าน “เทคโนโลยี” ที่ครูจัดหาให้ก่อนเข้าชั้นเรียน และมาทำกิจกรรมโดยมีครูคอยแนะนำในชั้นเรียนแทน จะเน้นให้ผู้เรียนได้เห็นและปฏิบัติจากประสบการณ์จริง ทำให้ผู้เรียนมีการจดจำและเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดีกว่าที่จะเรียนแบบเดิม ๆ
เกิดคำถามขึ้นมาอีกว่า “การจัดการเรียนการสอนแบบพลิกกลับนั้น ในประเทศไทยทำได้หรือไม่” คำตอบที่ได้คือ ทำได้หากเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ในเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัยให้กับโรงเรียนทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะในตัวเมือง หรือนอกเมือง ทุกโรงเรียนต้องได้รับการจัดสรรอุปกรณ์อย่างครบถ้วน เท่าเทียม ตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง ความร่วมมือจากครูผู้สอน ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยอมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเชื่อว่าครูไทยมีความรู้ ความสามารถมากในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่แพ้ชาติใดในโลกอย่างแน่นอน การเรียนรู้แบบพลิกกลับนั้น ต้องให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
1. ทักษะพื้นฐาน (Core Skills) ได้แก่ สื่อสารสองภาษา การดำเนินงาน การแก้ปัญหา การใช้ ICT และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน (Personal Learning & Development Skills) ได้แก่ เห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในตนเอง ตระหนักรู้ในตนและรู้จักตนเอง มีทัศนะเชิงบวกต่อการเรียนรู้ จัดการหรือควบคุมตนเองได้ และคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
3. ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคมโลก (Citizenship Skills) ได้แก่ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมชุมชนหรือสังคม เคารพความหลากหลาย มีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการสร้างให้เกิดความเท่าเทียม ความยุติธรรมในสังคม ศึกษาหรือเห็นปัญหาในสังคม และลงมือทำเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เข้าใจว่าสิทธิมาพร้อมความรับผิดชอบและปฏิบัติตามนั้น และมีขันติต่อความหลากหลายไม่เลือกปฏิบัติ
4. ทักษะการทำงาน (Employability Skills) ได้แก่ วางแผนงานหรือกิจกรรมได้ มีทักษะการจัดการตนเองและผู้อื่น ตรงเวลา มีวินัย ทำงานด้วยตนเองได้ จัดลำดับความสำคัญของงานและทำงานได้ตามเวลา สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ตั้งใจเตรียมการล่วงหน้าและยืดหยุ่น และมีจริยธรรมในการทำงาน
ในศตวรรษที่ 20 ทักษะที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิด คือ ทักษะพื้นฐาน แต่เมื่อจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้เรียนจะต้องมีทักษะด้านต่าง ๆ ดังกล่าวเพิ่มขึ้น ทักษะที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นทักษะที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน และเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการจัดการเรียนรู้แนวใหม่สไตล์ศตวรรษที่ 21 นั้นโรงเรียนขนาดใหญ่ หลายโรงเรียนได้เพิ่มรายวิชาที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะได้ โดยใช้ชื่อวิชาว่า การค้นคว้าอิสระ หรือ Independent Study หรือเป็นที่รู้จักกันว่าวิชา IS ซึ่งเป็นหลักสูตรรายวิชาที่มีสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาสร้างขึ้นให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนวิชาตามความถนัด ตามความสนใจ ตามความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื้อหาที่ต้องจัดการเรียนรู้มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ ในการเลือกประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้า การแสวงหาความรู้ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และฝึกทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ให้กับตนเองได้
2. IS2 การสื่อสารและการนำเสนอ เป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากวิชาแรกโดยผู้เรียนนำสิ่งที่ได้ศึกษา ค้นคว้าจาก IS1 มาเขียนรายงาน หรือเอกสารทางวิชาการ และนำเสนอเพื่อสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ที่ตนไปศึกษามา ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
3. IS3 การนำความรู้ไปใช้บริการสังคม เป็นการนำความรู้เพื่อนำไปให้บริการทางสังคม นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มา จากรายวิชา IS1 และ IS2 มาประยุกต์ใช้และทำประโยชน์ให้แก่สังคม
การจัดการเรียนรู้แนวใหม่นี้ มิได้ละทิ้งทฤษฎีการเรียนรู้แบบเดิม ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ที่เกิดจากการตอบสนองจากสิ่งเร้า การเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้า ทฤษฎีของธอร์นไดค์ ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อม หากผู้เรียนไม่มีความพร้อม การเรียนรู้แนวใหม่ก็จะไม่เกิด หากผู้เรียนไม่มีแรงจูงใจ หรือ แรงขับ หรือเลือกที่จะเรียนในแบบที่ตนเองอยากเรียน ด้วยตนเองแล้วนั้น การเรียนรู้ก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นเดียวกัน
ทฤษฎีการเรียนรู้สมัยใหม่ที่มาจากหนังสือ How Learning Works หนังสือเล่มนี้จะขึ้นต้นด้วยคำพูดของ Herbert A. Simon ซึ่งเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ นอกจากท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์แล้วท่านเป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ด้วย ท่านบอกว่า “การเรียนรู้เป็นผลของการกระทำคือ การลงมือทำและการคิดของผู้ที่จะเรียนเท่านั้น ครูช่วยได้แต่เพียงช่วยทำให้เขาทำและก็คิดเพื่อที่จะเรียน ครูไม่สามารถทำให้เขาเรียนได้ ”
2.การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning)
วิสัยทัศน์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) กาหนดให้ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอด
ชีวิตอย่างมีคุณภาพ” โดยมีจุดเน้นการปฏิรูป 3 เรื่อง ได้แก่
1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้
2. โอกาสทางการศึกษา เปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม
คุณภาพของการศึกษาและการเรียนรู้จะต้องบรรลุ 4 คุณภาพ คือ 1) คุณภาพคนไทยยุคใหม่ 2) คุณภาพครูยุคใหม่ 3) คุณภาพแหล่งเรียนรู้/สถานศึกษายุคใหม่ 4) คุณภาพการบริหารจัดการใหม่
เป้าหมายยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ไว้ดังนี้
1. คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล
2. คนไทยใฝ่รู้ : สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้
3. คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสานึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย
4. คนไทยคิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแข่งขัน
หากจะพูดถึงผู้เรียนในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนหลักสูตรบ่อยครั้งและใช้หลักสูตรไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสภาพท้องถิ่น ส่งผลให้เด็กและเยาวชนขาดแรงจูงใจในการศึกษา ขาดต้นแบบที่ดี มีความมั่นใจในตนเองในทางที่ผิด มีค่านิยมและพฤติกรรมตามเพื่อนในกลุ่ม เห็นคุณค่าของวัตถุ ผู้มีทรัพย์สินและอำนาจมากกว่าความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ เด็กและเยาวชนจึงมีค่านิยมรักความสะดวกสบายมากกว่าความพยายาม ขาดวินัยและไม่ชินกับการทำงานหนัก บริโภคข้อมูลข่าวสารและสื่อสารสนเทศอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา เช่น ขาดแบบแผนการดำเนินชีวิต ใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อโฆษณา บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและมีการเลียนแบบพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสม เป็นหน้าที่ของครูที่จะจัดการเรียนรู้แนวใหม่ เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานทางการศึกษาเสียที คำว่า “โรงเรียนมาตรฐานสากล” เข้ามีมีบทบาทมาก เนื่องจาก ปี 2558 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียนซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ครูต้องเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามมาตรฐานสากล มีคำถามเกิดขึ้นว่า การจัดการเรียนรู้จะเป็นไปได้หรือไม่ ในเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
2.1 ทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21
ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช (2555, หน้า 11) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา 3 ยุค คือยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และยุคความรู้ มีความแตกต่างกันมากหากเราต้องการให้สังคมไทยดารงศักดิ์ศรี และคนไทยสามารถอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข การศึกษาไทยต้องก้าวไปสู่เป้าหมายในสู่ “ยุคความรู้” จุดท้าทายในการจัดการศึกษาควรไปในทิศนาทางของความสุขในการทางานอย่างมีเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีลูกศิษย์ในยุคความรู้กระตุ้นให้ศิษย์เรียนรู้ตลอดชีวิต ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” ด้วยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียน ครูต้องตอบได้ว่า ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้อะไร การประสบผลสาเร็จได้นั้น ครูต้องทาอะไร ไม่ทาอะไร การทาหน้าที่ครูจึงไม่ผิดทางคือ ทาให้ศิษย์เรียนไม่สนุก หรือเรียนแบบขาดทักษะสาคัญ “ทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ( 21st Century Skills) จะเกิดขึ้นได้จาก “ครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอานวยความสะดวก” ในการเรียนรู้ ให้ศิษย์ได้เรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) สาระวิชาก็มีความสาคัญ แต่ไม่เพียงพอสาหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชาควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ สอดคล้องกับสุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร (2012, หน้า 12) ได้ให้ความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ให้สอดคล้องและสมดุลกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่นับวันจะมีการเปลี่ยนอย่างรุนแรงมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอยู่คู่กันต้องเกื้อกูลกันจะแยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อมีการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่ มีคาที่สาคัญที่น่าสนใจคือ คาว่า “Teach Less” และ “Learn More” โดยความหมายแล้วหมายความว่า การเปลี่ยนวิธีการศึกษา ด้วยการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายจาก “ความรู้ (knowledge) ไปสู่ ทักษะ (skill or practices)” คาว่า “Teacher” ที่แปลว่า “ครู” นั้น ถือว่าเป็นคาเก่าไปแล้วนั้น จะถูกให้ความหมายหรือคาจากัดความเสียใหม่ด้วยการเปลี่ยนมาเป็นเพียง “Facilitator” โดยระบุหน้าที่หรือคาจากัดความว่าเป็น “ผู้อานวยการเรียนรู้ (Coach) หรือ ผู้ชี้แนะ” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่มี “ครู” เป็นหลัก ไปเป็น “นักเรียน” เป็นหลัก ดังนั้นการเรียนรู้จึงจะต้องเรียนให้เลยจากเนื้อหา หลายส่วนก็ไม่จาเป็นต้องสอนผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เอง แต่ต้องสร้าง “ทักษะและเจตคติ” กับตัวของผู้เรียนขึ้นมาให้ได้ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันมากกว่าการเรียนรู้แบบตัวใครตัวมัน (Individual Learning) เพราะการเรียนรู้ในแบบใหม่ต้องเป็นการเรียนรู้ที่แบ่งปันกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การเรียนในปัจจุบันควรให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติพร้อมเรียนทฤษฎีไปพร้อม ๆ กันไม่ใช่แยกส่วนกันเรียน ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรเปลี่ยนจาก ห้องเรียนธรรมดา (Class Room) เป็นสตูดิโอ (Studio) เป็นที่ทางานเป็นกลุ่มๆ ซึ่ง หมายความว่าการเรียนจะเปลี่ยนจาก Lecture Based เป็น Project Based เป็นการเปลี่ยนผู้เรียนจาก “กรรม” จากเดิมเป็นผู้เรียนเป็น “ประธาน” และเป็น “กริยา” ด้วยพร้อมกัน คือเป็นผู้ลงมือทาโครงงาน (project) ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ได้วิเคราะห์ถึงแนวทางการศึกษาไทยในการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่ ที่ควรจะเดินไปข้างหน้าได้ดังนี้
2.1.1 เนื้อวิชา (Subject Matter)
การศึกษาอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมไปมากมายจากในอดีต หากสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยก็คือความเข้มข้นของเนื้อหา เพราะถ้านักเรียนมีพื้นฐานความรู้ที่ดี จะไปศึกษาต่อในเรื่องใดก็ย่อมทาได้ง่าย แต่หากความรู้ไม่ดีแล้ว ถึงแม้จะมีเครื่องมือช่วยสอนที่ทันสมัยเพียงใด นักเรียนก็จะเต็มไปด้วยความเบื่อหน่ายท้อแท้ ไม่อาจซึมซับความรู้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างไรก็ตาม วิธีการสอนเนื้อหาจะต้องมีความแตกต่างจากในอดีต ซึ่งเคยเน้นให้ครูเป็นผู้สอนเท่านั้น แต่ในศตวรรษที่ 21 จะต้องเน้นไปที่ผู้เรียน โดยเฉพาะการให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ยิ่งถ้าเป็นผลงานที่ใช้ได้จริง ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย
2.1.2 ทักษะชีวิต (Life and Professional Skill)
ในศตวรรษที่ 20 โลกได้เดินหน้าเข้าสู่ยุคโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้น ทักษะความเป็นผู้เชี่ยวชาญจึงสาคัญมากกว่าทักษะชีวิต (Life Skill) ในศตวรรษที่ 21 โลกได้เดินทางเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและความแปลกใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อให้สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration Skill) จึงเป็นสิ่งจาเป็น เพื่อการผสมผสานอัตลักษณ์และความสร้างสรรค์ของตัวเราและผู้อื่นเข้าด้วยกัน ไม่ใช่การร่วม มือแบบสายพานการผลิต
2.1.3 ทักษะและความรักในการเรียนรู้
การศึกษาในอดีต เน้นที่การท่องจาเป็นหลัก ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิด เพราะในสมัยก่อนเครื่องมือบันทึกยังไม่ดีเหมือนในปัจจุบัน ยังไม่นับว่าเศรษฐกิจในยุคอุตสาหกรรมต้องการเพียงทาตามคาสั่งเท่านั้น จึงไม่จาเป็นต้องเน้นไปที่การแสวงหาความรู้ซึ่งนอกเหนือไปจากที่บอกไว้ ในศตวรรษที่ 21 การผลิตผลงานทั้งในแวดวงธุรกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแต่ต้องการความคิดริเริ่ม (Initiatives) ดังนั้น การท่องจาและทาตามกันไปจึงไม่สอดคล้องอีกต่อไป ความรักที่จะเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จะหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามผู้รู้ การค้นหาจากแหล่งการเรียนรู้ Google, Khan academy, Alaphafarm, Youtube ฯลฯ รวมทั้งการระดมสมองจากกลุ่มคนที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงและต่อยอดความรู้ที่มาจากหลายหลายสาขาให้กลายเป็นผลงานใหม่ที่มีคุณค่าสูงยิ่งเป็นที่ต้องการของทุกคน
2.1.4 ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skill)
โลกนี้กาลังเข้าสู่ยุคสมัยของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เฉพาะแต่เครื่องมือการค้นหาข้อมูลอย่าง Google ที่รู้จักกันทั่วไป หากยังมีสังคมออนไลน์ (social network) อย่าง Facebook Twitter และ Line ที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้คนไปจนกระทั่งถึงการเมืองการปกครอง ผู้เรียนรุ่นใหม่ล้วนแต่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศติดตัวกันมาทุกคน หากว่ามีการนามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ กลับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ ยังต้องมีการฝึกฝนพัฒนากันอีกมาก เพราะเครื่องมือยิ่งทันสมัยมีประสิทธิภาพ หากไม่รู้จักใช้อย่างถูกวิธีก็ย่อมเป็นอันตรายได้มหาศาลไม่สิ้นสุด
ทักษะทั้ง 4 ด้านเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างมูลค่าให้กับคนไทยทุกคน ถ้าผู้เรียนผู้สอนผู้ปกครองมีความตื่นตัวและหาวิธีให้ได้รับทักษะทั้ง 4 อย่างดีที่สุด ที่เข้าใจถึงปรัชญาในเชิงลึกด้วยตัวอย่างเช่น ทักษะชีวิต (Life Skill) ก็ไม่ใช่หมายความเพียงศิลปะการเข้าสังคมหรูหรา หรือการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ไม่ให้ใครเอารัดเอาเปรียบแล้ว ยังต้องเป็นศิลปะการทางานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งบางครั้งต้องมีบทบาทเป็นผู้นา บางครั้งก็ต้องรู้จักเป็นผู้ตามที่ดี แน่นอนว่าทุกคนอยากเป็นผู้นาในทุกเรื่องอยากได้ผลประโยชน์สูงสุด แต่หากตัวเรามีพฤติกรรมแบบนี้ ก็ย่อมไม่มีใครอยากทางานด้วย สุดท้ายการทาโครงการยิ่งใหญ่ก็ย่อมต้องล่มสลายอย่างแน่นอนตัวอย่างเช่น ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ไม่ใช่เพียงใช้ Facebook และอัพโหลดรูปเป็นเท่านั้น หากยังต้องรู้จักบริหารเวลาในการใช้ให้ดี ไม่หมกมุ่นจนเสียการเรียนหรือใส่ใจกับคาพูดไร้สาระของเพื่อน ๆ มากไป ยิ่งกว่านั้นยังต้องรู้จักที่จะเป็น “เพื่อน” กับบุคคลที่น่าสนใจ ที่มีสาระความรู้ให้เก็บเกี่ยว ซึ่งในชีวิตจริงเราอาจไม่เคยรู้จัก หรือมีต้นทุนในการทาความรู้จักสูงเกินไป และที่สาคัญทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องเชื่อมโยงกับทักษะชีวิต ทักษะวิชา และทักษะการค้นหาข้อมูล เพราะหากเราไม่มีทักษะชีวิตที่ดีพอจะควบคุมสมาธิและจิตใจของตัวเราได้แล้ว การมีเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีก็ย่อมเป็นโทษมากกว่า เมื่อผู้จัดการศึกษามีความเข้าใจถึงบริบทโลกที่เปลี่ยนไป ก็จะเป็นผู้ริเริ่มในการปฏิรูปการศึกษาโดยผู้เรียนในศตวรรษใหม่ต้องเรียนรู้จากโจทย์ปัญหาชีวิตจริง (Project Base Learning : PBL) ต้องเรียนแบบลงไปทางาน ทาโปรเจ็กต์ และออกไปรับใช้สังคม
บทบาทที่สาคัญและยากลาบากที่สุดจึงอยู่ที่คือ “ครู” เพราะครูต้องเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างมากมาย ต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องใฝ่หาทักษะใหม่ในการเป็นผู้อานวยการ เพื่อการออกแบบโปรเจ็กต์ ในการชวนผู้เรียนมาทาโครงงาน ชวนผู้เรียนมาสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ได้ความรู้ที่ลึกทางทฤษฎีและได้รับการกระตุ้นสมองของมนุษย์ โดยสมองส่วนนี้คือสมองส่วนที่ทาให้ผู้เรียนมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมีสุนทรีย์ และมีวุฒิภาวะต่าง ๆ ซึ่งสมองส่วนนี้จะมีเพียงแค่เฉพาะในมนุษย์เท่านั้น และครูยังต้องการเครื่องมือที่ช่วยคือ “กลุ่มเพื่อนร่วมงาน” (Professional Learning Community : PLC) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูประจาการในการทาหน้าที่ครู
3. จิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียน
การออกแบบการเรียนรู้สาหรับศิษย์นั้นครูผู้ออกแบบจาเป็นต้องไม่ลืมที่ต้องบูรณาการศาสตร์ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนของผู้เรียนด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช (2012, หน้า 20-27) ได้กล่าวถึงเรื่องพลังสมอง 5 ด้าน ที่คนในอนาคตจะต้องมี ซึ่งครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้พัฒนาสมองทั้ง 5 ด้านนี้ ที่ครูสอนไม่สามารถให้ศิษย์เรียนได้ แต่ครูต้องใช้วิธีการที่ดีในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ พลังสมอง 3 ใน ๕ ด้านนี้เป็นพลังเชิงทฤษฎี หรือที่เรียก Cognitive mind ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย สมองด้านสังเคราะห์ (Synthesizing mind) และสมองด้านสร้างสรรค์ (Creating mind) อีก 2 ด้านเป็นพลังด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้แก่ สมองด้านเคารพให้เกียรติ (Respectful mind) และสมองด้านจริยธรรม (Ethical mind) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง 5 ด้าน ต้องไม่ดาเนินการแบบแยกส่วนแต่เรียนรู้ทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน หรือที่เรียกว่าเรียนรู้แบบบูรณาการ และไม่ใช่เรียนจากการสอน แต่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการลงมือทาเอง ซึ่งครูจึงมีความสาคัญมากในการออกแบบการเรียนรู้ และช่วยเป็น “คุณอานวย” หรือเป็นโค้ชให้ ครูที่เก่งและเอาใจใส่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ลึกและเชื่อมโยง นี่คือ มิติทางปัญญา
3.1 สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind)
คาว่า disciplined มีได้ 2 ความหมาย คือหมายถึง มีวิชาเป็นรายวิชา และยังหมายถึงเป็นคนมีระเบียบวินัยบังคับตัวเองให้เรียนรู้เพื่ออยู่ในพรมแดนความรู้ก็ได้ ในที่นี้จะหมายถึงมีความรู้และทักษะในวิชาในระดับที่เรียกว่าเชี่ยวชาญ (master) และสามารถพัฒนาตนเองในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คาว่า “เชี่ยวชาญ” ในโรงเรียนหรือในการเรียนรู้ของเด็ก ต้องคานึงถึงบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทของการเจริญเติบโตทางสมองของเด็ก คาว่า เชี่ยวชาญ ในวิชาคณิตศาสตร์สาหรับเด็ก 6 ขวบ กับเด็ก 12 ขวบต่างกันมาก และต้องไม่ลืมว่าเด็กบางคนอายุ 10 ขวบ แต่ความเชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ ของเขาเท่ากับเด็กอายุ 13 ขวบ หรือในทางตรงกันข้าม เด็กบางคนอายุ 10 ขวบ แต่ความเชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์ที่เขาสามารถมีได้เท่ากับเด็กอายุ 7 ขวบคาว่า “เชี่ยวชาญ” หมายความว่า ไม่เพียงรู้สาระของวิชานั้น แต่ยังคิดแบบผู้ที่เข้าถึงจิตวิญญาณของวิชานั้น คนที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ไม่เพียงรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แต่ยังคิดแบบนักประวัติศาสตร์ด้วยเป้าหมายคือ “การเรียนรู้แก่นวิชาไม่ใช่จดจาสาระแบบผิวเผิน แต่รู้แก่นวิชาจนสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นได้” และสนุกกับมันจนหมั่นติดตามความก้าวหน้าของวิชาไม่หยุดยั้ง
3.2 สมองด้านสังเคราะห์ (Synthesizing mind)
คือ ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นามากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สาคัญ และจัดระบบนาเสนอใหม่อย่างมีความหมาย คนที่มีความสามารถสังเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้ดีเหมาะที่จะเป็นครู นักสื่อสาร และผู้นาครูต้องจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนเพื่อพัฒนาสมองด้านสังเคราะห์ ซึ่งต้องเรียนจากการฝึกเป็นสาคัญ และครูต้องเสาะหาทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์มาใช้ในขั้นตอนของการเรียนรู้จากการทบทวนไตร่ตรอง (Reflection) หรือ (After-action Review:AA) หลังการทากิจกรรมเพื่อฝึกหัด เพราะการฝึกสมองด้านสังเคราะห์ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ ปฏิบัตินา ทฤษฎีตามและการสังเคราะห์ กับการนาเสนอเป็นคู่แฝดกัน การนาเสนอมีได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนาเสนอเป็นเรียงความ การนาเสนอด้วยสื่อมัลติมีเดีย (multimedia presentation) เป็นภาพยนตร์สั้น เป็นละคร ฯลฯ
3.3 สมองด้านสร้างสรรค์ (Creating mind)
เป็นทักษะสาคัญที่สร้างได้ยาก โดยคุณสมบัติสาคัญที่สุดของสมอง สร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน แล้วจึงคิดออกไปนอกกรอบนั้น ถ้าคิดนอกกรอบโดยไม่มีความรู้ในกรอบเรียกว่า คิดเลื่อนลอย คนที่มีความรู้และทักษะอย่างดีเรียกว่า ผู้เชี่ยวชาญ ต่างจากผู้สร้างสรรค์ตรงที่ผู้สร้างสรรค์ทาสิ่งใหม่ ๆ ออกไปนอกขอบเขตหรือวิธีการเดิม ๆ โดยมีจินตนาการแหวกแนวไป และการสร้างสรรค์ต้องใช้สมองหรือทักษะอื่น ๆ ทุกด้านมาประกอบกันการสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่มักเป็นผลงานของคนอายุน้อย เพราะคนอายุน้อยมีธรรมชาติติดกรอบน้อยกว่าคนอายุมาก เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการมีความรู้เชิงวิชาและวินัย รวมถึงความรู้เชิงสังเคราะห์มากเกินไปอาจลดทอนความสร้างสรรค์ก็ได้ และเป็นที่เชื่อกันว่าความสร้างสรรค์นั้นเรียนรู้หรือฝึกได้ ครูเพื่อศิษย์จึงต้องหาวิธีฝึกฝนความสร้างสรรค์ให้แก่ศิษย์สมองที่สร้างสรรค์คือ สมองที่ไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพซึ่งถือว่าดีที่สุดที่มีอยู่นั้น ถือเป็นที่สุดแล้ว เป็นสมองที่เชื่อว่ายังมีวิธีการหรือสภาพที่ดีกว่าอย่างมากมายซ่อนอยู่ หรือรอปรากฏตัวอยู่ แต่สภาพหรือวิธีการเช่นนั้นจะเกิดได้ ต้องละจากกรอบวิธีคิดหรือวิธีดาเนินการแบบเดิม ๆ ศัตรูสาคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ คือ การเรียนแบบท่องจาเปรียบเทียบสมอง ๓ แบบข้างต้นได้ว่า สมองด้านวิชาและวินัยเน้นความลึก (depth) สมองด้านการสังเคราะห์เน้นความกว้าง (breath) และสมองด้านสร้างสรรค์เน้นการขยาย (stretch)
3.4 สมองด้านเคารพให้เกียรติ (Respectful mind)
คุณสมบัติด้านเคารพให้เกียรติผู้อื่นมีความจาเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่สามารถเดินทางและสื่อสารได้ง่าย ต้องพบปะผู้อื่นจานวนมากขึ้นอย่างมากมาย และเป็นผู้อื่นที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านกายภาพ นิสัยใจคอ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนา มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเป็นผู้ที่สามารถคุ้นเคยและให้เกียรติคนที่มีความแตกต่างจากที่ตนเคยพบปะได้ ที่สาคัญ คือ ต้องไม่มีอคติ ทั้งด้านลบและด้านบวกต่อคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ ครูจะฝึกฝนสมองด้านนี้ของศิษย์อย่างไร หากนักเรียนของท่านเป็นเด็กมุสลิม เป็นเด็กในเมือง เป็นเด็กชนเผ่า หากโรงเรียนมีเด็กนักเรียนจากหลากหลายวัฒนธรรม การจัดการเรียนรู้น่าจะง่ายขึ้น แต่ในกรณีที่นักเรียนในโรงเรียนที่ท่านสอนเป็นเด็กจากวัฒนธรรมและชนชั้นเดียวกัน ครูจะจัดให้เด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองด้านนี้อย่างไร
3.5 สมองด้านจริยธรรม (Ethical mind)
เป็นทักษะเชิงนามธรรมที่เรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมทั้งอาจเอาข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาคุยกัน ผลัดกันออกความเห็นว่าพฤติกรรมในข่าวก่อผลดีหรือผลเสียต่อการอยู่รวมกันเป็นสังคมที่มีสันติสุขอย่างไร ตัวอย่างที่เอามาเป็นกรณีศึกษาควรมีความแตกต่างหลากหลายรวมหลาย ๆ กรณีศึกษาเป็นภาพจริงของสังคมที่มีทั้งคนดีคนเลว แน่นอนว่า สมองด้านจริยธรรมได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เรื่อยมาจนโต และเชื่อว่าเรียนรู้พัฒนาได้จนสูงวัยและตลอดอายุขัย
การพัฒนาทักษะเพื่อการดารงชีวิตของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จะสาเร็จได้นั้นครูผู้สอนต้องอานวยความสะดวกโดยบูรณาการทักษะต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาพลังสมองทั้ง 5 เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามเป้าหมายของหลักสูตร การดาเนินการดังกล่าวนี้ ผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบการสอนแบบต่าง ๆ มาเป็นตัวแบบที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เช่นรูปแบบการสอนแบบทีม รูปแบบสอนแบบกลุ่ม ฯลฯ
4. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มุ่งเน้นการจัดการศึกษาโดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะความรู้เรื่องของการคิด
4.1 ความคิดและความจำ
เดิมเราเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อคิด ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ที่จริงมนุษย์เกิดมาพร้อมกับกลไกประหยัดการคิด คือถ้าไม่จาเป็นจริง ๆ มนุษย์จะไม่คิด เพราะหากมัวคิดก่อนทาในหลายเรื่อง ความจริงเกี่ยวกับการคิด 3 ประการ ได้แก่
1) การคิดทาได้ช้า
2) การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก
3) ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง
แม้มนุษย์จะมีธรรมชาติชอบคิด หรือมีความขี้สงสัย (curiosity) แต่ก็ต้องมีธรรมชาติประหยัดการคิดเป็นของคู่กันด้วย เมื่อไรที่การคิดนั้นเผชิญโจทย์ที่ยากเกิน ความฉลาดจะทาให้มนุษย์หลีกเลี่ยงการคิด หรือรู้สึกไม่สนุกที่จะคิดนี่คือ เคล็ดลับสาหรับครูในการออกแบบการเรียนรู้ หรือตั้งโจทย์ ให้พอดีระหว่างความยากหรือท้าทายกับความง่ายพอสมควรที่นักเรียนจะทาได้สาเร็จและเกิดปิติ เกิดความภูมิใจที่ทาได้สาเร็จมนุษย์จะคิด หากโจทย์นั้นง่ายพอสมควรที่จะคิดได้สาเร็จ ความสาเร็จคือ รางวัลทางใจ เป็นแรงจูงใจที่จะคิดโจทย์ต่อไป ครูจะต้องใช้จิตวิทยาข้อนี้กับศิษย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทาให้ศิษย์เกิดความสนุกในการเรียน ถ้าโจทย์ยากเกินไป ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์จะกระตุ้นให้เขาเลิกคิดหนีการคิด หลีกหนีการเรียน แต่ถ้าโจทย์ง่ายเกินไป ก็ไม่ท้าทาย น่าเบื่อหรือไม่เกิดการเรียนรู้ความพอดีอยู่ที่ไหน นี่คือ ข้อเรียนรู้ที่ครูจะต้องฝึกฝนตนเอง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องคือ “ความจาใช้งาน” (working memory) กับ “ความจาระยะยาว” (longterm memory) ในชีวิตประจาวัน มนุษย์เราใช้ความจามากกว่าใช้การคิด และที่สาคัญ ความจา 2 ชนิดนี้ช่วยให้การคิดง่ายขึ้น คนเราใช้ความจาช่วยการคิด หรือบางครั้งแทนการคิดด้วยซ้าไป วิธีการฝึกคิดคือ การฝึกแก้โจทย์ ศิลปะของการเป็นครูเพื่อศิษย์คือ การทาให้นักเรียนเรียนสนุก และมีโจทย์ที่น่าสนใจ สิ่งที่ช่วยกระตุ้นความสนุกและน่าสนใจคือ ความสาเร็จหรือการที่สมองได้รับรางวัลจากความสาเร็จ ในการแก้โจทย์หรือตอบโจทย์ ดังนั้นโจทย์ต้องมีความยากง่ายพอดีกับความจาใช้งาน และความจาระยะยาวของเด็ก การฝึกคิดโดยการแก้โจทย์ ต้องมีโจทย์เป็นชุดจากง่ายไปยาก เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด ได้คาตอบที่ถูกต้อง ตอบถูกหรือมีวิธีคิดที่ดี กระตุ้นให้อยากเรียนรู้ต่อไปอีก นอกจากศิษย์จะได้ “ความรู้” เก็บไว้ใน “ความจาระยะยาว” แล้ว ศิษย์จะได้ฝึกฝนการคิดและได้นิสัยการเป็นนักคิด ติดตัวไปภายหน้าครูเพื่อศิษย์คือ “ครูนักให้รางวัล” โดยที่ศิษย์ไม่รู้ตัวว่าตนได้รับรางวัล เพราะรางวัลนั้นคือ ความรู้สึกพอใจ มีความสุข ความภูมิใจที่เกิดขึ้นในสมอง เพราะมีการหลั่งสารเคมีโดปามีน (dopamine) ออกมาจากสมอง กระตุ้นความรู้สึกพึงพอใจ หรือความสุขนอกจากสารโดปามีนจะหลั่งจากความรู้สึกว่ามีความสาเร็จแล้ว ยังหลั่งเมื่อได้รับคาชม ดังนั้น ครูเพื่อศิษย์ต้องเป็นนักให้คาชม หรือให้กาลังใจไม่ใช่นักตาหนิติเตียนหรือดุด่าว่ากล่าว ซึ่งเป็นกระบวนการสนองอารมณ์รุนแรงของตนเองครูเพื่อศิษย์คือ นักออกแบบโจทย์การเรียนรู้ ให้ศิษย์ฝึกคิดจากง่ายทาบ่อย ๆ จนเป็นนิสัยของการเป็นคนช่างคิด หรือคิดเป็น คิดอย่างมีวิจารณญาณ แล้วค่อย ๆ พัฒนาทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) นี่คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ครูเพื่อศิษย์จะต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ในความเป็นจริงแล้ว คนเราจะคิดได้ลึกซึ้งหรือมีวิจารณญาณ ต้องมีความรู้มาก ที่เขาเรียกว่า มีต้นทุนความรู้ (background knowledge) ที่เรียกว่าพหูสูตซึ่งแปลว่า ได้ยินได้ฟังมามากคือ มีความรู้มาก และเป็นที่รู้กันว่าต้องส่งเสริมให้ลูกและศิษย์อ่านหนังสือ และรักการอ่านตั้งแต่เด็กจนเป็นนิสัย ไทยเรามีวลี “คิดอ่าน” ซึ่งน่าจะสะท้อนแนวคิดว่าเราเชื่อว่า ความคิดกับความรู้เป็นสิ่งที่เสริมส่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกันของสรรพสิ่ง ความคิดกับความจามีความเชื่อมโยงกัน หากมีความจาดี มีความรู้อยู่ในสมองมากก็จะคิดได้ดีกว่า คิดเชื่อมโยงกว้างขวางกว่า คิดลึกซึ้งกว่า ดังนั้น ครูจึงต้องฝึกนักเรียน ให้รู้จักวิธีจา ฝึกทักษะการจาเพื่อให้มีทั้งความจาใช้งาน และความจาระยะยาว ที่ดี เคล็ดลับคือ เด็กที่มีความจาทั้งสองแบบนี้ดี จะไม่เบื่อเรียน ไม่เบื่อคิด การเรียนและการคิดจะเป็นของสนุกไม่ใช่น่าเบื่อหน่าย นี่คือ ส่วนหนึ่งของการสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ หรือทาให้เด็กสนใจใคร่เรียนรู้ หน้าที่สาคัญที่สุดของครูคือ การสร้างแรงบันดาลใจใคร่เรียนรู้ ครูต้องออกแบบการเรียน ให้เด็กได้ฝึกการคิดกับการจาไปพร้อม ๆ กัน มิฉะนั้น การจดจาความรู้จะเป็นการจาแบบท่องจา แบบนกแก้วนกขุนทองซึ่งจะได้ความรู้ที่ตื้น ต้องหาทางทาให้นักเรียนเข้าใจความหมายหรือคุณค่าของความรู้นั้นเพื่อให้ได้ความรู้ที่ลึก มีวิธีการต่าง ๆ ที่จะทาให้นักเรียนเข้าใจความหมายต่อชีวิตของเขา วิธีการหนึ่งคือจัดกลุ่มความรู้เหล่านั้นเป็นกลุ่ม ๆ เช่นทาเป็นเกมให้เด็กเล่น เช่น เกมต่อคา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เกมดูภาพแล้วจัดกลุ่มสัตว์ เป็นต้น ครูต้องทาความรู้จักสมองและกลไกการทางานของสมอง จึงจะฝึกออกแบบการเรียนรู้ของศิษย์ได้สนุก และสนุกกับการเรียนรู้ แท้จริงสมองของมนุษย์มีความมหัศจรรย์ มีความฉลาดอยู่ในตัวที่จะทางานอย่างฉลาดคือ ทางานน้อยได้ผลมาก สมองจึงไม่จาทุกเรื่องที่เราประสบ เลือกจาเฉพาะเรื่องที่ถือว่าสาคัญคือ เรื่องที่เราคิด เอาใจใส่ หรือมีอารมณ์รุนแรงกับมัน สภาพที่ประสบกับครูคือ ตนเองตั้งใจสอนเต็มที่ คิดออกแบบการเรียนการสอนอย่างดี ถึงชั่วโมงสอนก็ตั้งใจสอนอย่างดีเยี่ยม วันรุ่งขึ้นถามเด็กว่าได้เรียนรู้อะไร ไม่มีเด็กจาได้แม้แต่คนเดียว และเมื่อสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เด็กก็สอบตก การเรียนรู้ที่แท้จริงหมายถึงผู้เรียนซึมซับเข้าไปไว้ในความจาระยะยาว เพื่อดึงออกมาใช้ได้ยามต้องการ ครูที่เก่งคือ ครูที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง และครูที่เก่งมีคุณลักษณะสาคัญ 2 ด้าน คือ
1. รักเอาใจใส่เด็ก เด็กสัมผัสจิตใจเช่นนั้นได้และสบายใจที่จะเข้าหาซึ่งเป็นมิติด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์
2. สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายสาหรับศิษย์ทาให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดความจาระยะยาว
ความจาเป็นผลของมาจากการคิด การมีความรู้คือ มีความจาระยะยาวเอาไว้ใช้งาน ความจาเกิดจากอะไรบ้าง การกระทบอารมณ์อย่างรุนแรงทั้งด้านสุขและด้านทุกข์ ช่วยให้เกิดการจา แต่ไม่จาเป็นเสมอไปว่าต้องมีการกระทบอารมณ์จึงจะจาได้ การทาหรือประสบการณ์ซ้า ๆ จะช่วยให้จาได้ดีขึ้น แต่ไม่เสมอไป ความต้องการที่จะจา แต่บ่อยครั้งที่ลืม ทั้ง ๆ ที่ต้องการจาการคิดถึงความหมายที่ถูกต้องต่อบริบทการเรียนรู้นั้น ๆ วิธีการหนึ่งคือ ใช้โครงสร้างของเรื่อง (story structure) ในการออกแบบการเรียนรู้ และการเดินเรื่องให้นักเรียนคิดตรงตามความหมายที่ต้องการให้เรียนรู้ กลไกที่ช่วยและไม่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ ชี้ให้เห็นความเข้าใจผิด ๆ ที่ยึดถือกันมานาน เช่น การทาให้เนื้อเรื่องหรือสาระของบทเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจสาหรับเด็ก อาจไม่ใช่ปัจจัยสาคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก เพราะตัววิธีการเพื่อให้น่าสนใจนั้นเองอาจเป็นตัวดึงดูดความสนใจของเด็ก ให้หันเหไปสนใจส่วนของการกระตุ้นความสนใจ ไม่สนใจตัวสาระของวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เรียนรู้ เช่น ครูเอาลูกเต๋ามาทอดเพื่อให้เด็กคิดเรื่องความน่าจะเป็น แต่เด็กบางคนกลับคิดเพียงเรื่องลูกเต๋า ไม่ได้คิดเรื่องความน่าจะเป็น วันรุ่งขึ้นครูถามว่าได้เรียนอะไร นักเรียนคนนั้นตอบได้แต่เรื่องลูกเต๋า ตอบเรื่องความน่าจะเป็นไม่ได้เลย เรียกในภาษาวิชาการว่า กระบวนการ (process) เพื่อความน่าสนใจกลายเป็นเหตุให้ไขว้เขว (distraction) ออกไปจากสาระที่ต้องการให้เรียนรู้คือ ความสนุกกลายเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กาหนดเพราะไปสนุกอยู่กับเรื่องไม่เป็นเรื่อง การออกแบบการเรียนรู้คือ การออกแบบกระบวนการที่ทาให้เด็กคิดตรงตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ของบทเรียนนั้น ได้อย่างแท้จริงด้วยการ ซึมซับเข้าไปเป็นความจาระยะยาวของศิษย์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะเกิดขึ้นได้ต้องมีความรู้เดิมหรือต้นทุนความรู้ (background knowledge) จากความจาระยะยาวเป็นฐาน ครูจึงต้องจัดการเรียนรู้ให้ศิษย์สั่งสมความรู้ไว้มาก ๆ โดยจัดการเรียนรู้ให้มีความหมาย ให้ศิษย์คิดถึงความหมายที่ถูกต้องตามบริบทนั้น ๆ เพื่อให้เกิดความจาระยะยาว
4.2 ความเข้าใจ
ความเข้าใจเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมจะยากต่อความเข้าใจเพราะสมองสร้างมาสาหรับเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมความเข้าใจนั้นเกิดจากการเอาความรู้เดิมมาใช้แก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ (knowledge transfer) แล้วเกิดความรู้ใหม่หรือขยายความรู้เดิม ระดับความเข้าใจซึ่งจะเป็นระดับตื้นหากโครงสร้างความคิดเป็นแบบผิวเผิน (surface structure) แต่ระดับความเข้าใจจะเป็นระดับลึก หากโครงสร้างความคิดเป็นแบบลึก (deep structure) คือ คิดในระดับความหมาย (meaning) เป็นหน้าที่ของครูที่จะฝึกเตรียมความพร้อมให้เข้าใจระดับลึก โดยทาแบบฝึกหัดจับกลุ่มแยกประเภทสิ่งของคู่เหมือน คู่ตรงกันข้าม เปรียบเทียบ แบบฝึกหัดที่สนุกคือ เล่นเกม อย่างที่ ครูต้องเน้นความเข้าใจระดับลึกในการออกแบบการเรียนรู้ การสื่อสาร การออกข้อสอบเพื่อทดสอบการเรียนรู้ และการให้การบ้าน
4.3 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
ผู้เรียนมีความแตกต่างกันหลากหลายด้านมาก เราต้องปรับการสอนให้เหมาะต่อความแตกต่างนั้น ครูไทยต้องเอาความเป็นจริงเกี่ยวกับความแตกต่างของศิษย์ในทุกด้าน มาเป็นข้อมูลประกอบในการออกแบบการเรียนรู้ นักเรียนมีความแตกต่าง 3 แนว ได้แก่
1. ความสามารถทั่วไปในการเรียนรู้ อาจเรียกว่าเด็กฉลาด เด็กหัวไว เด็กหัวช้า
2. รูปแบบการเรียน ตามทฤษฎีมีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาท แบบเน้นโสตประสาท และแบบเน้นการเคลื่อนไหว (Visual, Auditory, and Kinesthetic Learners Theory)
3. ความฉลาด 8 ด้าน ตามทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านดนตรี ด้านรู้ผู้อื่น ด้านรู้ตนเอง ด้านรอบรู้ธรรมชาติ
จากทฤษฎีดังกล่าว นาไปสู่การตีความเชิงประยุกต์ 3 ข้อ ได้แก่
1. รายการตามตารางเป็นความฉลาด (intelligence) ไม่ใช่ความสามารถ (ability) ไม่ใช่ความถนัด (talent)
2. โรงเรียนควรสอนความฉลาดให้ครบทั้ง 8 ด้าน
3. เมื่อสอนความรู้ใหม่ ควรใช้หลาย ๆ ความฉลาด หรือทุกความฉลาด เป็นท่อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้สาหรับทาให้การเรียนรู้ของตนบรรลุผลอย่างสูงสุด
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยคานึงถึงความแตกต่างของเด็กเป็นเรื่องที่ครูต้องตระหนัก และแนะนาสาหรับนาความรู้เรื่องความฉลาด 8 แบบ ไปใช้ในห้องเรียนคือ
1) ให้นาไปใช้ในการออกแบบหรือเลือกเนื้อหาสาหรับการเรียนรู้ไม่ใช่นาไปใช้แยกแยะเด็ก
2) เปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้เป็นครั้งคราว เพื่อลดความจาเจน่าเบื่อหน่าย
3) เด็กทุกคนมีคุณค่า แม้บางคนจะเรียนช้า
4) ช่วยเด็กที่เรียนอ่อน ด้วยเอาใจใส่ ให้กาลังใจ ให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน พากเพียรฝึกฝนตนเอง ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ที่เชื่อว่าสติปัญญาสร้างได้ด้วยการฝึกฝนอย่างมานะอดทน และการมี “โค้ช” ที่ดี และพ่อแม่ ความฉลาดเป็นทั้งสิ่งที่ติดตัวมาแต่กาเนิด และสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ใส่ตัว เคล็ดลับสาหรับครูคือ การให้คาชม จงอย่าชมความสามารถ ให้ชมความมานะพยายาม เพื่อทาให้สิ่งที่มีคุณค่าคือ ความมานะพยายาม คือความสาเร็จที่ได้มาจากความบากบั่นเอาชนะอุปสรรค จงอย่าชื่นชมความสาเร็จที่ได้มาโดยง่าย
5. กรณีศึกษาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ห้องเรียนกลับด้าน
“การเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้มาจากการที่ครูค้นพบ วิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดจากการที่ครูได้ให้โอกาสที่ดีกว่าแก่ผู้เรียนรู้ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง” (Prof. Seymour Papert แห่ง Media Lab, Massachusetts Institute of Technology (MIT)) เป็นคาสาคัญจากรายงานการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ของ สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ที่นิมิตใหม่ในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ประกอบกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา กล่าวในที่ประชุมผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้นโยบายเตรียมความพร้อมรับภาคเปิดภาคเรียน 2556 อยากให้ผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เดินหน้าพัฒนาการเรียนการสอน และจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนใหม่ โดยเฉพาะการบริหารจัดการชั้นเรียนคาบละ 50 นาทีให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เพราะเวลาเรียนในแต่ละปีการศึกษามีเพียง 5 เดือน เศษ ๆ เท่านั้น จึงต้องใช้เวลาให้มีประโยชน์มากที่สุด “จะต้องเลิกเสียเวลาในการท่องจาในสิ่งที่ไม่จาเป็น แต่ให้ท่องในสิ่งที่จาเป็นเท่านั้น แล้วนาเวลาเรียนไปส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็ก และต้องแบ่งแยกความสาคัญของเนื้อหา เลือกเน้นในบางเนื้อหา อะไรที่ไม่จาเป็นก็ตัดทิ้งไป ที่สาคัญนอกจากด้านวิชาการแล้วยังต้องส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักเรียน รวมถึงการปลูกฝังประชาธิปไตยในโรงเรียนด้วย โดยต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ประชาธิปไตยในโรงเรียน เพราะเรื่องเหล่านี้จะเรียนรู้ได้ด้วยการปฏิบัติซ้า ๆ โดยเด็กซึมซับ” ด้าน ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน กล่าวว่าในปีการศึกษา 2556 นี้ สพฐ. จะเริ่มปรับลดการให้การบ้านโดยใช้วิธีให้ครูแต่ละวิชาบูรณาการการให้การบ้านร่วมกัน และยังนาแนวคิดการจัดการเรียนการสอนใหม่ที่เรียกว่า “ห้องเรียนกลับด้าน” หรือ “Flipped Classroom” มาเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2556 (เดลินิวส์, 8 พ.ค., 2556) สอดคล้องกับนโยบายรัฐมนตรี จาตุรนต์ ฉายแสง ในการเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยปฏิรูปให้มีความเชื่อมโยงกันทั้งหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคใหม่ การพัฒนาครู และการพัฒนาระบบการทดสอบ การวัดและประเมินผลที่ได้มาตรฐานและเชื่อมโยงกับหลักสูตรและการเรียนการสอน และการพัฒนาผู้เรียน และนโยบายเร่งนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ สร้างมาตรฐานการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) รวมทั้งการพัฒนาเนื้อหาสาระถือว่าเป็นเรื่องสาคัญที่จะต้องเร่งพัฒนา คือ "เนื้อหาสาระ" เพื่อจะให้มีทั้งเนื้อหาที่ควรรู้ รูปแบบของแบบทดสอบ แบบฝึกหัด เทคนิค นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ให้เด็กใช้กับแท็บเล็ต เพื่อทาให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ได้ผลจริง
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นจากประสบการณ์การสอนในชั้นเรียนของ Jonathan Bergmann และ Aaron Sams ซึ่งพวกเขาเป็นครูวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High School รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา มีแนวคิดที่มีนักเรียนบางส่วนให้องเรียนถูกดึงไปทากิจกรรมอื่นๆ ทาให้ไม่สามารถเข้าห้องเรียนได้ครบถ้วน เช่นนักเรียนที่เป็นนักกีฬา นักเรียนที่ต้องทางานนอกเวลา หรือกิจกรรมต่างที่ต้องใช้เวลาในการเดินทาง แม้กระทั่งเนื้อหาวิชาต้องเวลาในการทาความเข้าใจมาก ๆ จนไม่สามารถจัดได้หมดในชั่วโมงเรียนดังนั้น Jonathan และ Aaron จึงมีแนวคิด 2 ประการคือ 1) พิจารณาเลือกเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ที่จะนามาใช้กับนักเรียน และนักเรียนสามารถนาขึ้นมาเรียนได้ขณะเดินทาง หรือในเวลาว่างจากอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่นักเรียนมี เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือแล็บท็อป นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียนปกติ 2) จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวเชื่อม เช่น อีเมล์จากนักเรียนที่มีข้อสงสัย อีเมล์จากครูผู้สอนตั้งคาถามไปยังนักเรียน บทความหรือเนื้อหาต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่อยู่บนเว็บไซต์
วงการศึกษาของไทยได้มีการคิดค้นเพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางการเรียนรู้และรูปแบบการสอนตามหลักสูตรเพื่อก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงกับบริบทเชิงสังคม ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงกับโลกแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษาค่อนข้างสูง ภายใต้กระแสแห่งการปฏิรูปการศึกษาไทยในปัจจุบันที่มุ่งพัฒนาการศึกษาให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาโดยรวม เป็นไปตามปรัชญาแนวคิดของการพัฒนาโดยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสาคัญ (Learners Center) ก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต “ห้องเรียนกลับด้าน” จึงกลายเป็นนวัตกรรมและมุมมองหนึ่งที่เป็นวิธีการใช้ห้องเรียนให้เกิดคุณค่าแก่เด็กโดยใช้ฝึกประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์ต่างๆเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ “รู้จริง (Mastery Learning)” ด้วยแนวคิด “เรียนที่บ้าน ทาการบ้านที่โรงเรียน” กล่าวคือการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้นจะมุ่งเน้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองตามทักษะ ความรู้ความสามารถและสติปัญญาของเอกัตบุคคล (Individualized Competency) ตามอัตราความสามารถทางการเรียนแต่ละคนจากมวลประสบการณ์ที่ครูจัดให้ผ่านสื่อเทคโนโลยี ICT หลากหลายนอกชั้นเรียนอย่างอิสระทั้งด้านความคิดและวิธีปฏิบัติ ซึ่งแตกต่างจากการเรียนแบบเดิมที่ครูจะเป็นผู้ป้อนความรู้ประสบการณ์ให้ผู้เรียน ห้องเรียนแบบกลับด้านจะเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของครูเป็นผู้อานวยการสอนอย่างแท้จริงไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้แต่จะสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเข้าชั้นเรียนนักเรียนและครูจะมีส่วนร่วมกันในการสร้างวิถีการเรียนอย่างมีคุณค่าในการสร้างทักษะการคิดขั้นสูงคือการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังรูปที่ 1.1
รูปที่ 1.1 กระบวนการห้องเรียนกลับด้าน
ที่มา : http://ctl.utexas.edu/teaching/flipping_a_class/what_is_flipped
และสามารถปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการคิดขั้นสูง ตามแนวคิด Bloom’s Taxonomy ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 ห้องเรียนกลับด้านกับ Bloom’s Taxonomy
ที่มา : http://ileighanne.wordpress.com/2013/01/24/isnt-the-flipped-classroom-just-blended-Learning
6. นวัตกรรมการศึกษา
6.1 ความหมายของการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคาว่า “นว” หมายถึง ใหม่ และ “กรรม” หมายถึง การกระทำเมื่อนารวมกัน เป็น นวกรรม หรือ นวัตกรรม จึงหมายถึง การกระทาใหม่ ๆ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทาให้ดีขึ้น และเมื่อมาใช้ในวงการศึกษาจึงเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) จึงหมายถึง การกระทาใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใด ๆ แล้วทาให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกิดผลการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับผู้เรียน
ดังนั้นนวัตกรรมการศึกษาจึงประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ
1) สิ่งที่ทาขึ้นใหม่ หรือปรับใหม่
2) เป็นที่น่าเชื่อถือ
3) มีประสิทธิภาพ
6.2 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมที่นามาใช้ในทางการศึกษา ทั้งการกระทาใหม่ใดๆ การสร้างสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1) นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
2) นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
3) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
4) นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
5) นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
6.2.1 นวัตกรรมด้านสื่อการสอน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนการ์ตูน บทเรียนCD/VCD ชุดเรียนรู้ด้วยตนเอง บทเรียนเครือข่าย หนังสืออ่านเพิ่มเติม แบบฝึกความพร้อม ฯลฯ
แนวทางการพัฒนาสื่อที่นามาใช้ในการเรียนการสอน เช่น
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการคูณสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องระบบนิเวศ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การพัฒนาสื่อประสมเพื่อใช้ในการสอนดนตรี-นาฏศิลป์ ชุดราวงมาตรฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
6.2.2 นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) การสอนแบบโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer) การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based) การสอนแบบบูรณาการ (Integrate Teaching) การสอนด้วยรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) การสอนแบบโครงงาน (Project Method) การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่(Learning Cell)
แนวทางการพัฒนาด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ เช่น
การพัฒนารูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง พืชดอก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การพัฒนาการสอนแบบร่วมมือร่วมใจ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สาหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4
การพัฒนาวิธีการสอนแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอุบัติเหตุในชีวิต ประจาวัน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนาการสอนโดยใช้สถานการณ์จาลอง เรื่อง สิ่งแวดล้อม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4
การพัฒนารูปแบบการสอนซ่อมเสริม เรื่อง นาฏศิลป์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่องพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การพัฒนารูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่องการทาโครงงาน สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1
6.3 ประสิทธิภาพ
จากที่กล่าวแล้วว่าประสิทธิภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งของนวัตกรรม เพื่อความชัดเจนจึงขอยกตัวอย่างประสิทธิภาพของนวัตกรรมประเภทสื่อการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์( 2546, หน้า 99) กล่าวถึง ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึง ความสามารถของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ถึงระดับเกณฑ์ที่คาดหวังได้ การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบด้วยกระบวนการที่ต้องทาควบคู่กัน 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพเชิงเหตุผล (Rational Approach) และขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของบทเรียนเชิงประจักษ์ (Empirical Approach) จึงมั่นใจได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านกระบวนการที่ยอมรับได้ ประสิทธิภาพแต่ละด้านประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
6.3.1 ประสิทธิภาพเชิงเหตุผล เป็นประสิทธิภาพโดยใช้หลักความรู้และเหตุผล โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตัดสินคุณค่า การวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วไปแล้วจะประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ส่วนคือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (วิจารณ์ สงกรานต์, 2547, หน้า 51) ซึ่งเครื่องมือทั้ง 2 ส่วนจะประกอบด้วยกระบวนการที่สัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญดังนี้
1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเพื่อสร้างแบบทดสอบที่มีความ
สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและมีความครอบคลุมเนื้อหา การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ กาหนดคะแนนตอบถูกเป็น 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบ 0 คะแนน เหตุผลที่ใช้แบบทดสอบแบบเลือกตอบเนื่องจากเป็นแบบทดสอบที่สามารถสร้างประกอบควบคู่ไปพร้อมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และสามารถประมวลผลคะแนนการทดสอบได้ทันทีทันใด การนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอย่างน้อย 3 ท่านพิจารณาความสอดคล้องของแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ดังนั้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือที่สาคัญที่ต้องผ่านกระบวนการประเมินหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบรายข้อกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ในกรณีที่ข้อสอบใดที่ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ต้องทาการปรับปรุงหรือตัดทิ้งไป เพื่อให้ผลการวัดได้ตรงคุณลักษณะของสิ่งที่ ต้องการวัด มีความตรงตามเนื้อหา และยังผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีความเที่ยงตรง ที่ผ่านการทดสอบจากผู้เรียนที่เรียนแล้วเป็นผู้ตัดสินคุณค่าอีกด้วย
2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนนั้นเป็นการนาผลจากการวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมายและตัดสินเพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทาหน้าที่ตามที่วัตถุประสงค์กาหนดไว้ได้ในระดับใด มีคุณภาพดีหรือไม่ ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อคือประกอบด้วย ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความสวยงาม การประเมินผลบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นเป็นหลัก ลักษณะเฉพาะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้มาเป็นตัวแบบในการพัฒนา ในอันที่จะนาไปสู่การทางานที่สมบูรณ์ตามศักยภาพของสื่อแต่ละประเภท และตามวัตถุประสงค์ของการผลิตสื่อ ที่ประกอบด้วยมาตรฐานการออกแบบที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ องค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง จิตวิทยาการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย หลักการสอน กระบวนการสื่อสารและลักษณะเฉพาะเรื่อง การชี้หรือแสดงสาระสาคัญตามที่ต้องการได้อย่างน่าสนใจ กระชับและได้ใจความครบถ้วน มีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน จานวนเวลาเรียน ส่วนด้านมาตรฐานทางเทคนิควิธีการเสนอสื่อนั้น เป็นการใช้เทคนิควิธีการทางการศึกษาออกแบบสื่อที่ช่วยทาให้การสื่อสาระชัดเจนและเป็นที่เข้าใจง่ายสาหรับกลุ่มเป้าหมายมีความชัดเจนคลุมเครือไม่คลุมเครือและสับสนจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความเข้าใจ มีการนาเสนอที่น่าสนใจก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย และสามารถสรุปกินความได้ครบถ้วนถูกต้องตามวัตถุประสงค์ การตัดสินคุณค่าของสื่อจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 กลุ่ม ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิควิธีการผลิตสื่อการสอน
6.3.2 ประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ เป็นวิธีการหาประสิทธิภาพโดยการนาไปใช้ทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย มนตรี แย้มกสิกร(2550, หน้า 2) ได้กล่าวถึงการหาค่าประสิทธิภาพสื่อการสอนที่มี 2 วิธี คือ เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) และเกณฑ์ E1/E2
1) เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) เป็นวิธีการที่มีหลักการเรียนแบบรอบรู้ (Mastery learning) เป็นหลักการสาคัญ ผู้เขียนแนวคิดเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 คือรองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท ซึ่งเขียนหนังสือชื่อ เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม (เปรื่อง กุมุท อ้างถึงใน มนตรี แย้มกสิกร, 2550, หน้า 2) โดยสะท้อนประสิทธิภาพของบทเรียน ซึ่งเป็นสื่อที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองเป็นสาคัญ หลักจิตวิทยาสาคัญที่เป็นฐานคิดความเชื่อของสื่อชนิดนี้คือทฤษฎีการเรียนแบบรอบรู้ ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ หากจัดเวลาเพียงพอจัดวิธีการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนก็สามารถที่จะทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนได้ โดยนิยามความหมายเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ดังนี้
90 ตัวแรก หมายถึงคะแนนรวมของผลการสอบของผู้เรียนทั้งหมดที่ตอบถูกโดยนามารวมเข้าแล้วคิดเป็นร้อยละ ได้ไม่ต่ากว่าร้อยละ 90
90 ตัวหลัง แทนคุณสมบัติที่ว่า ร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมด ได้รับผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมายแต่ละข้อ และทุกข้อของบทเรียน
2) ประสิทธิภาพ E1/E2 เป็นเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและการประเมินรวบยอด ตัวอย่างเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 นิยามประสิทธิภาพได้ดังนี้
80 ตัวแรก (E1) หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ ซึ่งได้มาจากคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ตอบคาถามถูกจากการทาแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนในหน่วยย่อย คิดเป็นร้อยละไม่ต่ากว่า 80
80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ซึ่งได้จากคะแนนเฉลี่ยที่ผู้เรียนตอบคาถามถูกจากการวัดผลหลังการเรียนคิดเป็นร้อยละไม่ต่ากว่า 80
คำถามทบทวนการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่
ข้อ 1. ครูที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะอย่างไร
ก. ผู้เรียนอ่านมาก สอนน้อย
ข. สอนโดยสื่อทันสมัยใช้ห้องสตูดิโอ
ค. สร้างทักษะและเจตคติให้กับผู้เรียน
ง. มีความทันสมัยรู้ก้าวทันเทคโนโลยี
จ. สอนให้จบในชั้นเรียนไม่มีการบ้าน
ข้อ 2. นักเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะชีวิตแบบใด
ก. มีความร่วมมือแบบช่วยเหลือเกื้อกูน
ข. มีการร่วมมือกันทางานแบบสายพาน
ค. ร่วมมือโดยสร้างเอกลักษณ์ตนเองในเชิงแข่งขัน
ง. มีความร่วมมือแบบสร้างสรรค์ตัวเราและผู้อื่นเข้าด้วยกัน
จ. ร่วมมือกันแบบโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยสร้างผลงานให้กลุ่มโดดเด่น
ข้อ 3. PLC หรือ Professional Learning Community มีความสาคัญต่อใครอย่างไร
ก. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรสร้างโปรเจ็กต์เพื่อบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ระดับโรงเรียน
ข. ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ครูผู้สอน เพื่อสร้างโปรเจ็กต์รองรับการพัฒนาร่วมกันในระดับโรงเรียน
ง. ครูผู้สอน เพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
จ. นักเรียน เพื่อสร้างโปรเจ็กต์จากความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้
ข้อ 4. ข้อใดเป็นการเรียงลาดับสมรรถนะการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Bloom ได้ถูกต้อง
ก. ความรู้ ความจา ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
ข. ความจา ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล
ค. ความจา ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การสังเคราะห์ การประเมินผล การสร้างสรรค์
ง. ความจา ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การสังเคราะห์ การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์
จ. ความจา ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า การสร้างสรรค์
ข้อ 5. การจัดการเรียนรู้โดย เรียนที่บ้านทาการบ้านที่โรงเรียน คาว่า “ทาการบ้านที่โรงเรียน” เน้นที่ขั้นตอนใด
ก. ขั้นสร้างความรู้ความจา
ข. ขั้นสร้างความเข้าใจ
ค. ขั้นการขยายความรู้
ง. ขั้นการคิดวิเคราะห์
จ. ขั้นการทดสอบความรู้
บทสรุป
การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ในตวรรษที่ 21 มิได้ละทิ้งทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม เป็นการเพิ่มการเรียนรู้ที่สามารถศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อให้ทันยุคทันสมัยเพียงเท่านั้น เพียงแต่ครูผู้สอนเลือกที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่เพิ่มขึ้นมาในศตวรรษที่ 21 ได้ อย่างน้อยต้องมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัด ตามความสนใจ สุดท้ายแล้วผู้เรียนต้องนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงอยู่ของชีวิตได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อไป จงเห็นความสำคัญในตัวเด็กและเห็นว่าเด็กมีความสำคัญ ทุกอย่างอาศัยซึ่งกันและกัน "ถ้าสิ่งหนึ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งย่อมสำคัญด้วย" นี่แหล่ะคือกฎของธรรมชาติ
การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ในศตวรรษที่ 21 คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ รวมไปถึงผลการวิจัยทางด้านสมอง ซึ่งให้มุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเดิม จากการสอนที่เน้นให้ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยอาศัยความสามารถและจิตวิทยาการสอนส่วนตัว มาเป็นการให้ครูนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาของการเรียนรู้มาใช้ในการจัดเตรียมการสอนการสอน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี (Instruction) ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติและกระทำด้วยตนเอง
ทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คุณภาพของการศึกษาและการเรียนรู้จะต้องบรรลุ 4 คุณภาพ คือ 1) คุณภาพคนไทยยุคใหม่ 2) คุณภาพครูยุคใหม่ 3) คุณภาพแหล่งเรียนรู้/สถานศึกษายุคใหม่ 4) คุณภาพการบริหารจัดการใหม่
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นการเรียนรู้ ด้านเนื้อหาวิชา ด้านทักษะชีวิต ด้านทักษะและความรักในการเรียนรู้ และด้านทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skill)
จิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียน มุ่งพัฒนาสมอง ๕ ด้าน คือ 1.สมองด้านวิชาและวินัย 2. สมองด้านสังเคราะห์ 3. สมองด้านสร้างสรรค์ 4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ 5. สมองด้านจริยธรรม (Ethical mind)
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มุ่งเน้นการจัดการศึกษาโดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะความรู้เรื่องของการคิด ดังนี้ 1) ความคิดและความจำ 2) ความเข้าใจ และ 3) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
กรณีศึกษาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ห้องเรียนกลับด้าน เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นจากประสบการณ์การสอนในชั้นเรียนของ Jonathan Bergmann และ Aaron Sams ซึ่งพวกเขาเป็นครูวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High School รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา มีแนวคิดที่มีนักเรียนบางส่วนให้องเรียนถูกดึงไปทากิจกรรมอื่นๆ ทาให้ไม่สามารถเข้าห้องเรียนได้ครบถ้วน เช่นนักเรียนที่เป็นนักกีฬา นักเรียนที่ต้องทางานนอกเวลา หรือกิจกรรมต่างที่ต้องใช้เวลาในการเดินทาง แม้กระทั่งเนื้อหาวิชาต้องเวลาในการทาความเข้าใจมาก ๆ จนไม่สามารถจัดได้หมดในชั่วโมงเรียนดังนั้น Jonathan และ Aaron จึงมีแนวคิด 2 ประการคือ 1) พิจารณาเลือกเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ที่จะนามาใช้กับนักเรียน และนักเรียนสามารถนาขึ้นมาเรียนได้ขณะเดินทาง หรือในเวลาว่างจากอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่นักเรียนมี เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือแล็บท็อป นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียนปกติ 2) จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวเชื่อม เช่น อีเมล์จากนักเรียนที่มีข้อสงสัย อีเมล์จากครูผู้สอนตั้งคาถามไปยังนักเรียน บทความหรือเนื้อหาต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่อยู่บนเว็บไซต์
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การกระทำใหม่ ๆ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทาให้ดีขึ้น และเมื่อมาใช้ในวงการศึกษาจึงเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) จึงหมายถึง การกระทาใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใด ๆ แล้วทาให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกิดผลการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับผู้เรียน ดังนั้นนวัตกรรมการศึกษาจึงประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ 1) สิ่งที่ทาขึ้นใหม่ หรือปรับใหม่ 2) เป็นที่น่าเชื่อถือ และ 3) มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ 1) นวัตกรรมด้านสื่อการสอน 2) นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน 3) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร 4) นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล และ 5) นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
แนวทางการพัฒนาสื่อที่นามาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการคูณสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องระบบนิเวศ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาสื่อประสมเพื่อใช้ในการสอนดนตรี-นาฏศิลป์ ชุดราวงมาตรฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
แนวทางการพัฒนาด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ เช่น การพัฒนารูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง พืชดอก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาการสอนแบบร่วมมือร่วมใจ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สาหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 การพัฒนาวิธีการสอนแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องอุบัติเหตุในชีวิต ประจาวัน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การพัฒนาการสอนโดยใช้สถานการณ์จาลอง เรื่อง สิ่งแวดล้อม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 การพัฒนารูปแบบการสอนซ่อมเสริม เรื่อง นาฏศิลป์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่องพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การพัฒนารูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่องการทาโครงงาน สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1
ประสิทธิภาพ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของนวัตกรรม มี 2 องค์ประกอบ คือ 1.ประสิทธิภาพเชิงเหตุผล 1.1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 2.ประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ คือ 2.1) เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 2.2) ประสิทธิภาพ E1/E2
แหล่งอ้างอิง
http://wachum.org/dewey/300/edthai2.pdf
http://www.kroobannok.com/blog/29716
http://www.secondary11.go.th/2016/th/download/files/guidance10.pdf
Subscribe to:
Posts (Atom)