Friday, December 23, 2016

KEY BUDDHIST CONCEPTS


KEY BUDDHIST CONCEPTS
The Buddha was not concerned with satisfying human curiosity related to metaphysical speculations. Topics like the existence of god, the afterlife, or creation stories were ignored by him. During the centuries, Buddhism has evolved into different branches, and many of them have incorporated a number of diverse metaphysical systems, deities, astrology and other elements that the Buddha did not consider. In spite of this diversity, Buddhism has a relative unity and stability in its moral code.
The most important teaching of the Buddha is known as “The Four Noble Truths”, which is shared with varying adjustments by all Buddhist schools. In general, the Four Noble Truths are explained as follows:
  1. The First Noble Truth is generally translated as “all life is suffering”, which can be easily understood when it comes to painful situations like death, illness, abuse, poverty, and so forth. But suffering also may arise from good things because nothing is permanent, everything is changing, and whatever gives us happiness will sooner or later come to an end. It seems that all pleasures are temporary and the more we enjoy them, the more we will miss them when they end. “Nothing lasts forever”, is one of the insights of the Buddha.
  2. The cause of suffering is desire. Suffering comes from desire, also referred as “thirst” or greed. Our desires will always exceed our resources and leave us unhappy and unsatisfied. All suffering originates in desire, but not all desire generates suffering. Only selfish desire generates suffering:  desire directed to the advantage of the part rather than to the good of the whole.
  3. By stopping desire, suffering also stops. The idea is not to get too attached to material goods, places, ideas, or even people. Non-attachment to anything is the main idea behind the third noble truth. It means that since all changes if our attachment is too strong, we will inevitably suffer at some point. After all, we will all get old, decay, and die; this is a natural cycle, and there is nothing wrong with it. The problem comes when, by attaching too much, we do not accept the changes.
  4. By following “The Eightfold Path”, desire stops. The Eightfold Path is composed of: right views, right intentions, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness and right concentration.
In some religions, sin is the origin of human suffering. In Buddhism there is no sin; the root cause of human suffering is avidyā “ignorance”. In the entrance area of some Buddhist monasteries, sometimes the images of four scary-looking deities are displayed, the four protectors whose purpose is to scare away the ignorance of those who enter.
Buddhism does not require faith or belief. If faith can be understood as believing something which is unsupported by evidence, and ignorance is overcome by understanding, then faith is not enough to overcome ignorance and therefore suffering. And belief, as understood by other religions, is not necessary in Buddhism:
“The question of belief arises when there is no seeing - seeing in every sense of the word. The moment you see, the question of belief disappears. If I tell you that I have a gem  hidden  in the folded palm  of my  hand, the question of belief  arises because you do not see it yourself. But if I unclench my fist and show you the gem, then you see it for yourself, and the question of belief does not arise. So the phrase in ancient Buddhist texts reads 'Realizing, as one sees a gem in the palm'”
(Rahula W., p.9)
In its most basic form, Buddhism does not include the concept of a god. The existence of god is neither confirmed, nor denied; it is a non-theistic system. The Buddha is seen as an extraordinary man, not a deity. Some Buddhist schools have incorporated supernatural entities into their traditions, but even in these cases, the role of human choice and responsibility remains supreme, far above the deeds of the supernatural.
In some Chinese and Japanese Buddhist monasteries, they go even further by performing a curious exercise: The monks are requested to think that the Buddha did not even existed. There is a good reason for this: the core of Buddhism is not the Buddha, but his teachings or dharma. It is said that those who wish to understand Buddhism and are interested in the Buddha are as mistaken as a person who wishes to study mathematics by studying the life of Pythagoras or Newton. By imagining the Buddha never existed, they avoid focusing on the idol so that they can embrace the ideal.

http://www.ancient.eu/buddhism/

Wednesday, December 14, 2016

กิจกรรมการทอดผ้าป่าสามัคคีไทย-ลาว 12/12/2559

กิจกรรมการทอดผ้าป่าสามัคคีไทย-ลาว วัดพระธาตุผาเงา-เมืองผาอุดม แขวงบ่อแก้ว ได้สำเร็จเรียบร้อยไปด้วยดี ขออนุโมทนาบุญกับคณะเจ้าภาพทุกๆ สายบุญวัดพระธาตุผาเงา นำโดย พระอาจารย์ พระปลัดนัฐธวนลพงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา และคุณโยมอุบาสิกาเหรียญทอง อรุณแสงเงิน เป็นเค้าพร้อมด้วยเจ้าภาพร่วมจากกรุงเทพมหานคร นำโดย นางสาวชุติมา เจริญศรี และชมรมนักศึกษาสงฆ์ลาวเชียงราย ประจำราชอาณาจักรไทย พร้อมครูบาอาจารย์และญาติธรรมทุกท่านที่ได้ร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีไทย-ลาว ซึ่งนำต้นผ้าป่ามาจากวัดพระธาตุผาเงา ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทอด ณ สำนักปฏิบัติธรรม (วัด) บ้านเวียงคำใหญ่ เมืองผาอุดม แขวงบ่อแก้ว วันจันทร์ ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2559 ในการทอดผ้าป่าสามัคคีไทย-ลาว ครั้งนี้ได้ปัจจัยจำนวนเงินทั้งหมด 115,434 บาทและเป็นเงินกีบอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม (ศาลาพักสงฆ์) ไว้เป็นอนุสรณ์ในการสร้างวัดวาอารามสืบต่อไป













Monday, October 31, 2016

Sunday, September 11, 2016

งานสลากภัต ประเพณีสลากภัตต์

งานสลากภัต ประเพณีสลากภัตต์
เป็นประเพณีทำบุญที่คนในปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันดีนัก



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ พุทธานุญาตภัตร

สลากภัตต์ เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก เป็นชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยการจับสลากเพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธาถวาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุจำกัดและไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้ โดยสลากภัตนับเนื่องในสังฆทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะถือว่าแม้จะตั้งสลากถวายกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่จับสลากได้ ย่อมเท่ากับถวายกับพระสงฆ์ทั้งหมด เพราะสลากที่จับนั้นพระสงฆ์ทุกรูปในอารามนั้นมีสิทธิ์ได้ นอกจากนั้นสลากภัตยังเป็นหลักการในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเท่าเทียมกันและสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันแก่คณะสงฆ์การถวายโดยอุทิศให้แก่สงฆ์ โดยอุทิศให้เป็นเผดียงสงฆ์ (ไม่ระบุเฉพาะว่าจะถวายรูปไหน) เช่นการถวายสลากภัต แม้พระจะได้รับของที่ถวายแค่รูปเดียว แต่ถือได้ว่าพระสงฆ์ที่มารับถวายเป็นพระที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ก็นับเป็นสังฆทานที่สมบูรณ์เช่นกัน
ในประเทศไทย มีประเพณีสลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก นิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ ถึงเดือนยี่ของทุกปี สาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหน โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และอาหารคาวหวานรวมทั้งไทยทานต่างๆไปตั้งเป็นกัณฑ์สลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ โดยในแต่ละภูมิภาคมีรายละเอียดการจัดประเพณีแตกต่างกันไปบ้าง
เมื่อวัดใดจะจัดให้มีการถวายสลากภัต มัคทายกผู้เป็นหัวหน้าก็จะกำหนดวันและหาเจ้าภาพด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำใบปิดไปปิดไว้หรือไปประกาศป่าวร้องหาเจ้าภาพร่วมผู้ใดต้องการเป็นเจ้าภาพก็แจ้งชื่อไว้ ครั้นถึงวันกำหนดผู้เป็นเจ้าภาพก็จะมีการเตรียมสำรับกับข้าว และเครื่องไทยทานตามกำลังของตน
จากนั้นทายกผู้เป็นหัวหน้า ก็จะนำเบอร์มาติดที่กัณฑ์ฉลากของเจ้าภาพแต่ละรายแล้วเขียนเบอร์หมายเลขให้พระจับพระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็ไปรับกัณฑ์สลากที่เจ้าภาพคนนั้นนำมาถวาย ส่วนใหญ่ของที่เตรียมไว้จะพอดีระหว่างเจ้าภาพและพระที่นิมนต์มา ข้อสำคัญในการทำบุญสลากภัตก็คือ เป็นการถวายทานแบบไม่เจาะจงตัวผู้รับเมื่อพระองค์ใดจับได้เบอร์ของเจ้าภาพ เจ้าภาพไม่ควรแสดงความยินดียินร้ายในผู้รับ ก่อนที่จะมีการเส้นสลาก(จับสลาก)ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย1กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลากเมื่อเสร็จแล้วพระสงฆ์ก็จะอนุโมทนาและให้พรเจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธี

คำถวายสลากภัตต์
.........เอตานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุกัฏฐาเนฐะปิตานิ
ภิกขุสังฆะสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากังเจวะ มาตาปิตุ
อาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจัยโยโหตุ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งสลากภัตและของอันเป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ อันตั้งไว้แล้วในที่โน้น แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับ ซึ่งสลากภัตกับทั้งของอันเป็นบริวารทั้งหลายเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แด่ญาติทั้งหลาย อันมีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย และเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นอาสวะทั้งปวงจนถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วย เทอญ ฯ
ประเพณีสลากภัต
การทำบุญสลากภัต มีเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นเช่น กิ๋นก๋วยสลาก, กิ๋นสลาก, ตานก๋วยสลาก, ในภาษาเขียนใช้ “สลากภัต” หรือ“ทานสลาก” วิธีการทำบุญมีแตกต่างกันไปตามความนิยมในท้องถิ่นของตนประเพณี สลากภัต นี้เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่พุทธสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังคงพระชนม์อยู่ ปรากฏในพระธรรมบทขุททกนิกายว่า “ พระพุทธองค์สรรเสริญพระสาวกอรหันต์ชื่อ พระโกณฑธานเถระ ซึ่งเป็นผู้มีโชคดีในการจับสลากได้ที่หนึ่งทุกครั้ง พระสาวกทั้งหลายมีความสงสัยว่า ทำไมท่านจึงมีความโชคดีเช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลว่า ท่านเป็นผู้ชอบทำบุญสลากภัตจึงเป็นคนโชคดี”
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหารนั้น วันหนึ่งนางกุมารีผู้หนึ่งได้อุ้มลูกชายวิ่งหนีนางยักขินีผู้มีเวรต่อกัน หลายชาติแล้ว ติดตามมาจะทำร้ายลูกของนาง นางเห็นจวนตัวจะวิ่งหนีไปที่อื่นไม่ได้ จึงพาลูกวิ่งเข้าไปในวัดพระเชตวัน ในพระวิหารขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ นางเอาลูกน้อยวางแทบพระบาทแล้วกราบทูลว่า “ ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอทรงโปรดเป็นที่พึ่งแก่ลูกชายของหม่อมฉันเถิดพระเจ้าข้า ” พระพุทธเจ้าหยุดพฤติกรรมที่จองเวรของนางกุมาริกา และนางยักษ์ขินีด้วยการตรัสคำสอนว่า “เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร” แล้วทรงให้นางทั้งสองเห็นผิดชอบชั่วดี นางยักษ์ขินีรับศีล ๕ แล้วนางก็ร้องไห้สะอึกสะอื้น กราบทูลพระพุทธเจ้าว่านางไม่รู้จะไปทำมาหากินอย่างไรเพราะรักษาศีลเสียแล้ว นางกุมาริกาจึงรับอาสาจะพานางไปอยู่ด้วย นางได้รับอุปการะจากนางกุมาริกาหลายประการ นึกถึงอุปการะอยากจะตอบแทนบุญคุณ จึงเป็นผู้พยากรณ์บอกกล่าวเรื่อง ลมฟ้าอากาศ คือ บอกให้นางกุมาริกาทำนาในที่ดอนในปีฝนมาก ทำนาในที่ลุ่มในเวลาฝนแล้ง นางกุมาริกาได้ปฏิบัติตามทำให้ฐานะร่ำรวยขึ้น คนทั้งหลายมีความสงสัยจึงมาถามหาสาเหตุ นางจึงบอกว่า นางยักษ์ขินีเป็นผู้บอกกล่าวให้ คนทั้งหลายจึงพากันไปหานางยักษ์ขินีขอให้พยากรณ์ให้ตนบ้าง คนทั้งหลายได้รับอุปการะจากนางยักษ์ขินีจนมีฐานะร่ำรวยไปตาม ๆ กัน ด้วยความสำนึกในบุญคุณ จึงพากันนำเอาเครื่องอุปโภคบริโภคอาหารการกินเครื่องใช้สังเวยเป็นอัน มาก นางจึงนำมาทำเป็นสลากภัต โดยให้พระสงฆ์กระทำการจับตามเบอร์ด้วยหลักของอุปโลกนกรรม คือ ของที่ถวายมีทั้งของมีราคามาก ราคาน้อย พระสงฆ์องค์ใดได้ของมีค่าน้อยก็อย่าเสียใจ ให้ถือว่าเป็นโชคของตนดีหรือไม่ดี การถวายแบบจับสลากของนางยักษ์ขินีนี้นับเป็นครั้งแรกแห่งประเพณีทำบุญสลากภัต หรือทานสลากในสมัยพุทธกาล

ประเพณีสลากภัตในปัจจุบัน
ประเพณีถวายสลากภัต เป็นวิธีการถวายเครื่องไทยทานแก่พระพระสงฆ์วิธีหนึ่งอันเป็นที่นิยมของชาว เหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มใน วันเพ็ญ เดือน 12 ถึงแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ เมื่อทางวัดและชาวบ้านตกลงกันว่าจะจัดให้มีการกินสลาก ก่อนวันถวายสลาก ชาวบ้านจะจัดทำพิธีเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทาน 1 วัน เรียกวันที่เตรียมของนี้ว่า “วันดา” ชาวบ้านจะจัดเครื่องไทยทานลงใน “ก๋วย” (เป็นตระกร้าหรือชะลอมขนาดเล็กที่สานด้วยไม้ไผ่) เรียกว่า “ก๋วยสลาก” แล้วนำของไทยทานจำพบรรจุลงไป แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงจาก “ก๋วยสลาก” มาเป็น “กล่องพลาสติก” บรรจุเครื่องไทยทานที่เจ้าภาพมีศรัทธานำมาถวาย นอกจากนี้อาจจะมีการตกแต่งเครื่องไทยทานเป็นต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่สูงตามต้องการ นำไม้ไผ่เหลาและทำเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น 3 ชั้น , 5 ชั้น , 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น แต่ละชั้นนำเครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม ส่วนบนสุดจะนิยมนำร่ม/ฉัตรมาเสียบไว้ และใช้ปัจจัยผูกติดตามขอบร่มตามศรัทธาของเจ้าของกัณฑ์สลาก สลากแต่ละกองเรียกกัณฑ์ฉลากซึ่งมีเส้นสลากระบุเบอร์และชื่อเจ้าภาพให้พระจับ เมื่อพระจับได้ก็ให้เจ้าภาพนำไปถวายตามเบอร์ของตน ไม่สามารถเจาะจงพระสงฆ์ได้ ถ้าเป็นกองใหญ่พระท่านก็เมตตาไปรับและอ่านข้อความที่เขียนไว้อีกครั้ง กล่าวอนุโมทนาคาถา และให้พร เส้นสลากทั้งหมดจะให้ทางวัดรวบรวมไปเผาต่อไป

ค่านิยมในการทำสลากภัต
1-ประชาชนว่างจากภารกิจการทำนา
2-ผลไม้เช่นส้มโอ,ส้มเขียวหวาน,ส้มเกลี้ยง,กำลังสุก
3-ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูหนาว
4-พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อมหลังออกพรรษา และเตรียมไปธุดงค์
5-ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจนเป็นสังคหทาน
6-ถือว่ามีอนิสงฆ์แรงคนทำบุญสลากมักจะมีโชคลาภเสมอ
7-มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัด หาปัจจัยซ่อมสร้างเสนาสนะ เจดีย์ที่เคารพบูชา
ด้วยเหตุผล๗ประการนี้ประชาชนชาวไทยในล้านนาจึงนิยมทำบุญสลากภัตกันเกือบทุกวัดมีแต่ หากว่าวัดใดมีงานตั้งธรรมหลวง ( เทศน์มหาชาติ ) วัดนั้นจะเว้นจากการทำบุญสลากภัตรเพราะจะเป็นภาระต่อชาวบ้าน
ศัพท์ที่ใช้ในพิธีสลากภัต
เส้นสลาก” หมายถึงใบลานหรือกระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ จารึกชื่อเจ้าของไว้ และบอกด้วยว่าอุทิศส่วนกุศลนั้นให้ใครบ้าง คำจารึกในเส้นสลากนั้นมักจะเขียนดังนี้ “สลากกองนี้ หมายมีผู้ข้านายแก้ว นางดี ขอทานให้กับตนตัวในภายหน้า” หมายถึง ถวายทานไว้อุทิศส่วนกุศลไว้สำหรับตัวเอง เมื่อล่วงลับไปแล้วจะได้รับเอาของไทยทานนั้นในปรโลก ซึ่งเป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนทั่วไปว่า เมื่อทำบุญถวายทานไว้ในพระศาสนาแล้วเมื่อล่วงลับดับขันธ์ไปก็จะได้ไปเสวย อานิสงส์ผลบุญนั้นในโลกหน้าและจะมีการอุทิศส่วนกุศลนั้นให้ญาติพี่น้องผู้ ล่วงลับไปแล้วเช่น “ผู้ข้าหนานเสนา บางบุ บ้านวังม่วง ขอทานไว้ถึงนางจันตาผู้เป็นแม่ที่ล่วงลับไปแล้วขอให้เป็นสุขเป็นสุขเถิดฯ”เป็นต้น
การแบ่ง “เส้นสลาก” เป็นกองๆ รวม ๓ กอง กองหนึ่งคือของพระประธาน”(คือของวัด) ส่วนอีก ๒ กอง นั้นเฉลี่ยออกไปตามจำนวนพระภิกษุ-สามเณรที่นิมนต์มาร่วมในงานทำบุญ หากมีเศษเหลือก็มักจะปัดเป็นของพระเจ้าเสียเพื่อไปทำนุบำรุงวัดต่อไปตามอัตราส่วน พระประธาน(วัด)3ส่วน พระสงฆ์2ส่วนสามเณร1ส่วน
ก๋วยน้อย
เป็นก๋วยสลากสำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ ซึ่งไม่เพียงแต่ญาติพี่น้องเท่านั้นอาจจะเป็นเพื่อนสนิท
มิตรสหายก็ได้ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรักและมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิตเช่น ช้าง ม้า วัว ควายและสุนัข เป็นต้น
หรือถ้าไม่รู้ว่าจะถวายทานไปให้ใครก็ถวายทานเอาไว้ภายหน้า
ก๋วยใหญ่
เป็นก๋วยที่จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษซึ่งจะบรรจุข้าวของได้มากขึ้น ถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธา
และฐานะดี เป็นปัจจัยนับว่าได้กุศลแรง
สลากโชค
นอกจากจะมี “ก๋วยน้อย-ก๋วยใหญ่” แล้ว ผู้ที่มีฐานะดี การเงินไม่ขัดสน ก็จะจัดเป็นพิเศษที่เรียกว่า “สลากโชค” หรือ "สลากสร้อย" สลากโชคนี้ทำเป็นพิเศษกว่าสลากธรรมดา และในสมัยก่อนมักจะทำเป็นรูปเรือนหลังเล็กๆ มีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ และรอบๆ เรือนหลังเล็กนั้นจะมีต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกติดไว้ และยังมี “ยอด” ปัจจัย หรือของมีค่าเช่น สร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือหรือเข็มขัดนาค เข็มขัดเงินผูกติดไว้ด้วย เพราะเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วหากไปเกิดในภพอื่นๆ ก็จะได้รับสิ่งของที่ได้ถวายไปนี้  กัณฑ์สลาก แต่ละกองสลากเรียก กัณฑ์สลาก ซึ่งจะมีเส้นสลาก1เส้น, “ก๋วย” หรือ กล่องพลาสติกไทยทาน 1กล่อง และหรือ ต้นกัลปพฤกษ์ 1ต้น
การทำและแต่งต้นกัลปพฤกษ์
1.นำไม้ไผ่สูงตามต้องการทำเป็นเสาสลากของต้นกัลปพฤกษ์
2. นำไม้ไผ่เหลาเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น 3 ชั้น , 5 ชั้น , 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น แต่ส่วนมากนิยมทำเป็น9ชั้น
3.นำกระดาษย่นสีต่างๆมาพันรอบเสาและชั้นของต้นกัลปพฤกษ์
4. แต่ละชั้นก็นำเครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม
5.ผ้าและของใช้สำหรับสงฆ์
6.ชั้นที่9นำ ผ้าขาว สำหรับบังสุกุลผ้าป่ามาติดไว้
7.ชั้นที่1นำของมีค่ามาห่อด้วยกระดาษเงินกระดาษทองแล้วนำมาห้อยไว้ให้สวยงาม
8. แล้วนำ ร่ม/ฉัตร คันเล็กมาติดปลายยอดสุด แล้วยังมีการผูกปัจจัยไว้ที่ขอบร่มตามศรัทธา

อานิสงส์สลากภัต.....เนื่องจากเป็นการทำบุญที่แตกต่างจากธรรมดาเพราะมีการจับสลาก แล้วก็ถวายไปตามรายชื่อพระภิกษุสามเณรที่จับได้นั้น การทำบุญนี้เป็นการไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะเป็นพระภิกษุรูปใดหรือสามเณรองค์ใดก็ยินดีถวายทั้งนั้นเป็นการกำจัดกิเลสชนิดหนึ่งเรียกว่าอคติเสียได้
จากข้อความในชาดก
ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว มีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งนามว่า ปทุมมุตตระ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถีนครเป็นที่โคจรบิณฑบาต ..... มีสามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นคนยากจนอนาถา อยู่ในพระนครนั้นแสวงหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างหาฟืนขาย อยู่มาวันหนึ่งบุรุษผู้สามีพิจารณาดูการเลี้ยงชีพที่ฝืดเคืองนักก็เนื่องมาจากตนมิได้บำเพ็ญการกุศล มีการให้ทานรักษาศีล สดับรับฟังพระธรรมเทศนาและเจริญภาวนาเป็นต้นในชาติปางก่อนอย่างแน่นอน มาในชาตินี้จึงเป็นคนเข็ญใจไร้ทรัพย์อับปัญญา เมื่อมาพิจารณาดังนี้แล้ว จิตใจก็อยากจะทำบุญให้ทานเพื่อจะได้เป็นนิธิขุมทรัพย์ เป็นเสบียงไปในปรภพเบื้องหน้า จึงปรึกษากับภรรยาของตนตามที่เจตนาดำริไว้นั้น ฝ่ายภรรยาก็คล้อยตามไปด้วยความยินดี และรีบจัดแจงหาเครื่องไทยทาน ตามสมควรแก่กำลังของตน แล้วนำไปสู่อารามทำเป็นสลากภัตพร้อมกับมหาชนทั้งหลาย สามีภรรยาคู่นั้นจับสลากถูกภิกษุรูปหนึ่งจึงน้อมเข้าไปถวายด้วยความปีติ แล้วตั้งความปรารถนาว่าเดชะบุญกุศลผลทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าบริบูรณ์ด้วยยศศักดิ์สมบัติบริวาร ขึ้นชื่อว่าความตกทุกข์ได้ยากเข็ญใจ เหมือนในชาตินี้อย่า ได้พึงมีแก่ข้าพเจ้าในภพต่อ ๆ ไปเลย สามีภรรยาคู่นั้นอยู่ต่อมาจนสิ้นอายุขัยทำกาลกิริยาตายไปแล้วก็อุบัติในดาวดึงส์สวรรค์ สิ้นบุญแล้วก็มาเกิดเป็นพระเจ้าศรัทธาติสสะ ณ เมืองพาราณสี พระเจ้าศรัทธาติสสะนั้นครั้นกลับชาติมาก็คือพระตถาคตนี้เอง เมื่อสิ้นกระแสพระธรรมเทศนาแล้วเหล่าพุทธบริษัท ทั้งหลาย มีพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเป็นต้น ก็ชื่นชมผลทานในการถวายสลากภัตเป็นยิ่งนัก


Tuesday, August 30, 2016

Wednesday, July 27, 2016

ถอดบทเรียนแสงเทียนแห่งล้านนา โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

ถอดบทเรียนแสงเทียนแห่งล้านนา การบริหารจัดการศึกษาขั้นเทพ กรณีศึกษา การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน
๑. ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จากสถานการณ์บ้านเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหามากมาย ประกอบด้วยการกระทำผิดกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การระบาดของสิ่งเสพติด และอบายมุข การแตกแยกทางความคิด การเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และการจาบจ้วงดูหมิ่นสถาบันหลักของชาติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการขาดสติ จิตสำนึก ศีลธรรมและคุณธรรมจริยธรรม อันจะส่งผลให้สังคมเกิดความขัดแย้ง คณะสงฆ์ โดย เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีดำริที่จะเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความสงบ สันติสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน โดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน กอรปกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการให้ทุกภาคส่วนในประเทศร่วมมือกันดำเนินการสร้างความปรองดองสมานฉันท์และทำให้ประชาชนมีความรักความสามัคคีกันโดยเริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งจะนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างปลอดภัยยั่งยืน โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานราชการที่มีภารกิจในการส่งเสริมให้สังคมไทย มีศีลธรรม และคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา จึงได้กำหนดกิจกรรมในการสนับสนุนส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศทุกวัยได้นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปพัฒนาชีวิต ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยเน้นการรณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนให้มี “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ขึ้นในทุกส่วนของประเทศ ตามดำริที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ประทานโอวาทไว้ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ความว่า “อันว่าศีล ๕ เป็นการสำคัญมนุษย์ เมื่อทุกคนมีศีล ๕ ด้วยกัน สังคมนั้นๆ คือ ประชาชนย่อมจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อเป็นไปได้ ขอให้ชื่อหมู่บ้านนั้นว่า หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มอบหมายภารกิจให้ส่วนราชการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ แก่ประชาชนในชาติ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการพร้อมกันทั้ง ๗๖ จังหวัด ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ไว้เป็น ๒ ระดับ หรือ ๒ ระยะ ดังนี้ ๑.๑ โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับ ๑ เก็บกำข้อมูล (Data Base) โดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล จำนวน ๕,๙๑๔ หน่วยทั่วประเทศ ที่ได้ดำเนินการตามหัวข้ออบรม ๘ หัวข้อ คือ ศีลธรรมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สัมมาชีพ สันติสุข ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ กตัญญูกตเวทิตาธรรม และสามัคคีธรรม โดยมอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับคณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรเครือข่ายชาวพุทธ ได้ขับเคลื่อนโครงการเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว โดยกำหนดเป้าหมายทุกตำบล ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ พร้อมทั้งตั้งเป้าตัวชี้วัด ให้เกิดสัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใน ๔ ปี (ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๖๐) ๑.๑.๑ วิธีการดำเนินการ ให้วัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชนเปิดรับสมัครประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ หากมีประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ให้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หมู่บ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถขอรับแผ่นป้ายไม้หมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อติดตั้ง ณ หมู่บ้านของตน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ขณะนี้ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้จัดสรรงบประมาณประชาสัมพันธ์ เชิญชวนประชาชนทั้งประเทศเข้าร่วมโครงการ โดยได้จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ส่งไปยังวัดทุกวัดทั่วประเทศแล้ว ขณะเดียวกันก็มีสถานศึกษา โรงเรียนต่างๆ ขอเข้าร่วมโครงการด้วย ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกลางโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ (วัดปากน้ำ) ก็ได้จัดทำป้ายไวนิลให้โรงเรียนที่ขอมาทั่วประเทศเช่นกัน สำหรับหมู่บ้านที่ดำเนินการไปแล้ว มีประชาชนเข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ ๘๐ ให้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดทราบ เพื่อทางส่วนกลางจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมิน และจัดทำโล่ประกาศเกียรติคุณ เพื่อมอบให้หมู่บ้านนั้นต่อไป ๑.๑.๒ วิธีการสมัคร ๑. ท่านที่มีความตั้งใจจริงที่จะรักษาศีล ๕ และมีพันธสัญญาทางใจที่จะพัฒนาการรักษาศีลให้ได้เคร่งครัดต่อไป ๒. ติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่วัด สถานศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด หน่วย อบต. และที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ สำนักงานกลางโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ วัดปากน้ำ กทม. และรับของที่ระลึกโครงการ หรือ ดาวน์โหลดใบสมัครที่นี่ ๓. ส่งใบสมัคร ณ สถานที่รับใบสมัครมา หรือ กรอกข้อมูลด้วยตนเองทางเว็บไซต์ www.sila5.com ๑.๒ โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับ ๒ ครอบครัวอบอุ่น (Happiness Family) โครงการหมู่บ้านและโรงเรียนรักษาศีล ๕ ครอบครัวอบอุ่น (หรือโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับ ๒) คือโครงการนำธรรมะสู่ภาคปฏิบัติ ฝึกฝนพัฒนาให้เป็นนิสัย โดยรณรงค์ให้สมาชิกหมั่นทำ 7 กิจวัตรความดีจนเป็นนิสัย อันได้แก่ ๑) รักษาศีล ๕ ๒) สวดมนต์ นั่งสมาธิ ๓) จัดเก็บห้องนอน ห้องน้ำให้สะอาด เป็นระเบียบ ๔) จับดีคนรอบข้าง ๕) พูดจาไพเราะ ๖) บำเพ็ญประโยชน์ ๗) ร่วมกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ เพราะ “นิสัยที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมที่สงบสุข” โดยยึดหลักการสำคัญ คือ “เปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ภายนอก” โดยอุปนิสัยที่รณรงค์ให้สมาชิกหมั่นปฏิบัติมีอยู่ ๗ ข้อ เรียกว่า ๗ กิจวัตรความดี ถ้าฝึกฝน พัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความอบอุ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่นำไปสู่คุณธรรมอื่น ๆ ที่สูงยิ่งขึ้นไป เช่นความเคารพ ความกตัญญู ความอดทนเสียสละ เป็นต้น ๑.๒.๑ เป้าหมายสำคัญ ๑. นำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักศีล ๕ ๒. ครอบครัวอบอุ่น สังคมสงบสุข เกิดความปรองดองสมานฉันท์ ๓. เด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ ๔. พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ๑.๒.๒ ๗ กิจวัตรความดี ประกอบด้วย ๑. รักษาศีล ๕ ๒. สวดมนต์ นั่งสมาธิ ๓. จัดเก็บห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัวให้สะอาด เป็นระเบียบ ๔. คิดดี...ด้วยการจับดีคนรอบข้าง ๕. พูดดี...ด้วยการพูดจาไพเราะ ๖. ทำดี...ด้วยการทำบุญหรือบำเพ็ญประโยชน์อย่างน้อย ๑ เรื่อง ๗. ร่วมกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ ช่วงเวลาที่สมาชิกมาทำดีร่วมกัน ทั้งอาราธนาศีล ๕ สวดมนต์นั่งสมาธิ แบ่งปันประสบการณ์ที่ดี ๆ ที่เกิดจากการทำ ๖ กิจวัตรความดี และได้ฟังธรรมะที่ตอกย้ำความสำคัญของการทำ ๖ กิจวัตรความดี ซึ่งกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอนี้ จะช่วยเสริมสร้างกำลังใจในการทำความดีของสมาชิกให้มีความมั่นคง และ เข้มแข็งขึ้น ข้อ ๑ – ๖ เป็นนิสัยประจำวัน ทำที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่ทำงานของตนเอง ข้อ ๗ เป็นนิสัยประจำสัปดาห์ ร่วมกันในสถานที่ใช้เป็นศูนย์รวมใจสมาชิกหมู่บ้านหรือโรงเรียนรักษาศีล ๕ ๑.๒.๓ ขั้นตอนกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอมีอะไรบ้าง ? ๑. ลงทะเบียน ๒. อาราธนาศีล ๓. สวดมนต์ทำวัตรเย็น ๔. นั่งสมาธิ ๕. อ่านธรรมะโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม (สลับหมุนเวียนกันแต่ละสัปดาห์) ๖. บรรยายธรรมะประกอบสื่อโดยวิทยากร ๗. พูดข้อคิดที่ได้โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๘. สรุปข้อคิดโดยวิทยากร ๙. แชร์ประสบการณ์ทำความดี ๑๐. อธิษฐานจิตร่วมกัน ๑๑. แจ้งข่าวสารต่างๆ อนุโมทนาบุญกับเจ้าภาพ ๑๒. ถ่ายรูปร่วมกัน ๑.๒.๔ ขั้นตอนดำเนินงาน ๒. แรงจูงใจที่ทำให้เขาหรือเราสนใจเรื่องนี้ คือ วิธีการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน ซึ่งได้รับนโยบายจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย โดยเริ่มจาก ระดับที่ ๑ คือ การเก็บกำข้อมูลแต่ละหมู่บ้านในเขตปกครองของตน ซึ่งได้ดำเนินการดังนี้ ๑. ให้วัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชนเปิดรับสมัครประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ ๒. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจะได้รับขึ้นทะเบียนเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ๓. หมู่บ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จะได้รับแผ่นป้ายไม้หมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อติดตั้ง ณ หมู่บ้านของตน พร้อมด้วยสถานศึกษา และโรงเรียนต่างๆ ๔. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ ๘๐ ทางส่วนกลางจะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมิน และจัดทำโล่ประกาศเกียรติคุณ เพื่อมอบให้หมู่บ้านนั้นต่อไป ระดับที่ ๒ คือ การทำให้ครอบครัวอบอุ่น โดยรณรงค์เรื่องการนำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ฝึกฝนพัฒนาสร้างนิสัยที่ดี โดยการ “คิดดี พูดดี ทำดี” อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทั้งรูปธรรมและนามธรรม ได้คัดสรร คัดเลือกหมู่บ้านที่มีผลงาน และมีแนวปฏิบัติที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ในหมู่บ้านอยู่กันอย่างสันติสุข ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย ครอบครัวมีสุข ประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆมีความขยันหมั่นเพียร มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีกันทั่วหน้า ทำเป็นโครงการขึ้นมา ๑ โครงการ ๑ หมู่บ้าน ๑ ตำบล จนถึงปัจจุบันนี้คณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน รวมทั้งอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการแล้ว ส่งโครงการฯ ให้เจ้าคณะจังหวัดแล้วทั้งสิ้น ๑๔๐ โครงการ ผลออกมาอย่างไรก็จะได้นำไปขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต่อไป ดังนั้นผู้ศึกษาจึงเกิดความสนใจเป็นอย่างยิ่งและอยากให้มีการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในระดับที่ ๓ อีกต่อไป ๓. สภาพก่อนที่จะดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เนื่องด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหามากมาย ประกอบด้วยการกระทำผิดกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การระบาดของสิ่งเสพติด และอบายมุข การแตกแยกทางความคิด การเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และการจาบจ้วงดูหมิ่นสถาบันหลักของชาติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการขาดสติ จิตสำนึก ศีลธรรมและคุณธรรมจริยธรรม อันจะส่งผลให้สังคมเกิดความขัดแย้งมากขึ้น ๔. เหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสภาพการจัดทำโครงการ คือ เรื่องของหลักศีลธรรมหรือหลักของศีล ๕ ซึ่งเป็นหลักจำเป็นในสังคมมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปกติ ทั้งในตนเองและสังคม เพราะช่วยควบคุมความประพฤติมิให้พลาดถลำลงในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจัดอยู่ในระดับศีลธรรมอันเป็นมูลฐานที่จะนำไปสู่ความสงบของจิตใจ ถ้าหากความสะอาดทางกายและวาจาไม่มีแล้ว เราก็ไม่สามารถทำจิตใจให้สงบได้ แต่ในทางกลับกันคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ส่วนมากเป็นเพียงตามทะเบียนบ้านเท่านั้น ถ้าชาวพุทธไม่ช่วยกันดำรงรักษาประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักศีล ๕ ข้อแล้ว อนาคตก็มีผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสสร้างความแตกแยกระหว่างชาวพุทธด้วยกันและสังคมในชาติอันเป็นบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาในประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญต่อการนำพระดำริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้มีโครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อเสริมสร้างและสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เกิดความสงบ สันติสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ๕. จุดหมายใหม่ของโครงการ คือ ดำเนินกิจกรรม “ศีล ๕ สัญจร บวรร่วมมือ” ๕.๑ วิสัยทัศน์ “คิดดี พูดดี ทำดี” ๕.๒ เป้าหมายสำคัญ ๑. นำธรรมะไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิงหลักศีล ๕ ๒. ครอบครัวอบอุ่น สังคมสงบสุข เกิดความปรองดองสมานฉันท์ ๓. เด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ ๔. พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ๕.๓.เป้าประสงค์ - ด้านปริมาณ คือ เริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ทั่วประเทศ - ด้านคุณภาพ คือ คนในหมู่บ้านมีศีล ๕ ผู้คนอยู่กันอย่างสันติสุข ไม่มีการลักเล็กขโมยน้อย ครอบครัวมีสุข มีความขยันหมั่นเพียร มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีกันทั่วหน้า ๖. MBI นวัตกรรมมีการบริหารงานอย่างไร? ขณะนี้กำลังอยู่ที่การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “ศีล ๕ สัญจร บวรร่วมมือ” โดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายร่วมกับจังหวัดเชียงราย เป็นโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านศีล ๕” ระยะที่ ๓ ระดับคุณภาพ ณ วัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ดำเนินงานโดย คณะสงฆ์อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดย Phra Somsack Vilayphonh รหัสนักศึกษา ๕๘๘๙๑๔๐๐๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Tuesday, July 5, 2016

ເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ

ເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ
ປະຫວັດໃນປັດຈຸບັນ
ເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ ຕັ້ງຢູ່ໃນເຂດທີ່ເຄີຍເກາະເຂີນເຊິ່ງໄດ້ຫາຍສາຍສູນໄປແລ້ວ ພາຍຫຼັງທີ່ນ້ຳຂອງໄດ້ປ່ຽນທາງເດີນນ້ຳ ຍັງຄົງເຫຼືອຮ່ອງຮອຍຂອງເມືອງເປັນບຶງໂຄ້ງຍາວປະມານ 3ກິໂລແມັດ ເອີ້ນວ່າ ໜອງວັງຄຳ ທີ່ຕັ້ງຂອງເມືອງຕົ້ນເຜິ້ງ ຫຼື ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳຍັງເປັນສຸດເຂດຕາເວັນຕົກຂອງປະເທດລາວ ຄື ຫ່າງຈາກເມືອງຫ້ວຍຊາຍໄປທາງທິດຕາເວັນຕົກປະມານ 40 ກິໂລແມັດທາງບົກ ຫຼື 60 ກິໂລແມັດທາງນ້ຳ. ເປັນບູຮານສະຖານບັນຈຸຮ່ອງຮອຍທາງປະຫວັດສາດແຫ່ງນະຄອນບູຮານເກົ່າແກ່ເອີ້ນວ່າ ນະຄອນສຸວັນນະໂຄມຄຳ ເຊິ່ງຕໍ່ມາກາຍເປັນ ນາຄະນະຄອນ,ນະຄອນຊຽງລາວ,ນະຄອນເງິນຍວງ(ເງິນຍາງ),ຫິຣັນນະຄອນ ແລະ ນະຄອນຊຽງແສນ(ເກົ່າ).ມີບູຮານສະຖານ 44 ແຫ່ງ ສ້າງໂດຍດິນຈີ່ ແລະ ປູນ ໄດ້ແກ່: ພຣະອຸໂປສົດ,ພຣະທາດ,ພຣະພຸດທະຮູບ,ໜອງນ້ຳ ຯລຯ. ສິ່ງທີ່ຍັງຄົງງົດງາມ ແລະ ສະຫງ່າຕະການຕາທີ່ເຫຼືອໃຫ້ເຫັນ ທີ່ສາມາດລອດພົ້ນຈາກການປຸ້ນສົມບັດໃນສະໄໝກ່ອນໄດ້ແກ່:ພຣະພຸດທະຮູບປາງສະມາທິ ສ້າງໂດຍດິນຈີ່ ແລະ ປູນ. ເປັນພຣະພຸດຮູບອົງໃຫຍ່ເຊິ່ງມີຄວາມ ກວ້າງໜ້າຕັກ 7.10 ແມັດ,ຄວາມສູງ 7.22 ແມັດ,ບ່າແຕ່ລະຂ້າງມີຂະໜາດ 1.10 ແມັດ,ດ້ານຂ້າງແຕ່ກະໂພກເຖິງເຂົ່າ 3.60 ແມັດ ນັບວ່າເປັນພຣະພຸດທະຮູບທີ່ໃຫຍ່ອົງໜຶ່ງຂອງລາວ ແລະ ອາຊີຕາເວັນອອກສຽງ ໃຕ້.ດ້ວຍຂະໜາດທີ່ໃຫຍ່ຂອງພຣະພຸດທະຮູບໄດ້ມີການສັນນິຖານວ່າເປັນພຣະພຸດທະຮູບປະຈຳວັດຂອງພຣະຣາຊະວັງ.ນອກນີ້ຍັງມີອີກອົງໜຶ່ງທີ່ມີຂະໜາດເກືອບເທົ່າກັນແຕ່ຖືກນ້ຳກັດເຊາະພັງທະລາຍໄປແລ້ວ ນັ້ນກໍຄືພຣະນະ ວະລ້ານຕື້ ຫຼື ພຣະຣັດສະໝີທອງສຳລິດທີ່ຈົມຢູ່ໃຕ້ແມ່ນ້ຳຂອງທີ່ດອນແຫ້ງຂອງລາວເຮົາ. ປູຊະນິຍະສະຖານທີ່ເຫຼືອຢູ່ນີ້ສ່ວນຫຼາຍມາຈາກຍຸກນະຄອນຊຽງແສນເກົ່າ ສະໄໝພຣະເຈົ້າໄຊເສດຖາທິຣາດ ເຊິ່ງພຣະອົງໄດ້ຊົງຮັບສັ່ງໃຫ້ສະຖາປະນາບູລະນະໃຫ້ເປັນນະຄອນທີ່ສວຍສົດງົດງາມເທິງສອງຝາກຝັ່ງແມ່ນ້ຳຂອງ ເຊິ່ງມີສູນກາງທາງຝັ່ງຊ້າຍຂອງແມ່ນ້ຳຂອງເຊິ່ງກໍແມ່ນເມືອງຕົ້ນເຜິ້ງນັ້ນເອງ.ນະຄອນນີ້ຖືກທຳລາຍຈາກການຮຸກຮານຂອງກອງທັບພະມ້າ ໃນສະໄໝຂອງພຣະເຈົ້າໄຊເສດຖານັ້ນເອງ.ອັນເປັນເຫດໃຫ້ດິນແດນລ້ານນາຖືກຍຶດ ແລະ ແຍກອອກຈາກດິນແດນລ້ານຊ້າງໃນເວລາຕໍ່ມາ.
ປະຫວັດໃນອະດີດ
ໃນຕຳນານນະຄອນໂຍນົກ ຂອງເຈົ້າຄຳໝັ້ນ ວົງກົດຣັຕຕະນະ ກ່າວໄວ້ມີຂໍ້ຄວາມດ່ັງນີ້: “ພຣະເຈົ້າສີລິວົງສາ ກະສັດຂອງງນະຄອນໂພທິສານຫຼວງ (ນະຄອນໂຄຕະປຸຣະ ຫຼື ໂຄຕະບູນ ຫຼື ສີໂຄ ຕະບອງ ຢູ່ໃນເຂດເມືອງທ່າແຂກ ແຂວງຄຳມ່ວນໃນປັດຈຸບັນ) ມີພຣະຣາຊະບຸດ ໒ ພຣະອົງ, ອົງແຮກມີພຣະນາມ ວ່າ ອິນທຣະວົງສາ ແລະ ອົງນ້ອງພຣະນາມວ່າ ໄອຍະກຸມານ ເມື່ອພຣະຣາຊະບິດາສະຫວັນນະ ຄົດແລ້ວ ໂອຣົດທັງສອງອົງອ້າຍກໍຂຶ້ນຄອງຣາດຊະສົມບັດ ແລະ ອົງນ້ອງເປັນອຸປາຣາດ ພຣະຍາອິນທະວົງສາ ມີໂອຣົດຊົງພຣະນາມວ່າ ພຣະຍາອິນປະຖົມ ແລະ ພຣະຍາໄອກຸມານມີພຣະທິດາຊົງ ພຣະນາມວ່າ ນາງອູຣະສາ(ຄົງຈະເປັນ ໂອຣະສາ ພາສາໄທລື້ ) ແລະ ພຣະໂອຣົດ ພຣະທິດາທັງສອງພຣະອົງໄດ້ອະພິເສກສົມຣົດກັນ, ຄັນເມື່ອພຣະ ພຣະຍາອິນທະວົງສາສະຫວັນນະຄົດ ພຣະຍາອິນປະຖົມກຸມານ ກໍຂຶ້ນຄອງຣາຊະສົມບັດແທນ. ພຣະຍາໄອກຸມານ ຜູ້ເປັນອາວ ແລະ ພໍ່ເຖົ້າ ໄດ້ສະລະຕຳແໜ່ງມະຫາອຸປາຣາດ ແລ້ວພາບໍຣະວານເດີນຂຶ້ນຕາມລຳແມ່ນຳ້ຂອງ ເປັນເວລາ ໓ ເດືອນ ຈຶ່ງເຖິງດອນເຂີນ ເຊິ່ງຕັ້ງຢູ່ດ້ານ ຊ້າຍປາກແມ່ນ້ຳກົກ ທິດຕາເວັນຕົກ ພຣະຍາໄອກຸມານ ຈຶ່ງຕັດສິນໃຈຕັງຣາຊະນະຄອນທີ່ດອນເຂີນ ອັນປະກອບດ້ວຍຄົວເຮືອນເບື້ອງຄົ້ນ ໓.໐໐໐ ຄົວເຮືອນ. ຂະນະນັ້ນ ຂ່າວດີກໍໄດ້ມາເຖິງພຣະອົງວ່າ ພຣະທິດາຂອງພຣະອົງກໍໄດ້ປະສູດພຣະໂອຣົດ ທີ່ມີເຕຊານຸພາບແຕ່ຍັງປະສູດ ແລະຕໍ່ມາກໍເກີດອະພິນິຫານຂຶ້ນຫຼາຍຢ່າງ ໃນຣາຊະສຳນັກນະຄອນ ໂຄຕະປຸຣະ(ໂຄຕະບູນ) ອັນເປັນສາເຫດໃຫ້ອາມາດຣາຊະມົນຕີຢ້ານໄພພິບັດທຳໃຫ້ບ້ານເມືອງ ຫຼົ້ມຈົມ. ເມື່ອເສນາອາມາດນຳຄວາມຂື້ນທູນພຣະບິດາຜູ້ເປັນພຣະເຈົ້າແຜ່ນດິນ,ພຣະອົງເລີຍຮັບສັ່ງໃຫ້ເອົາພຣະມະເຫສີ ແລະ ຣາຊະບຸດໃສ່ແພລອຍນ້ຳ ຄັນເມື່ອພຣະເຈົ້າໄອຍະກຸມມານຊົງຊາບເລື່ອງນີ້ກໍເສີຍພະໄທຢ່າງຍິ່ງ ຈຶ່ງໄດ້ຮັບສັ່ງໃຫ້ໄພ່ຟ້າຣາຊະດອນທຳການບູຊາໂດຍຈູດທູບທຽນ,ໂຄມໄຟ ແລະ ປະທີບບູຊາພະຍານາກ ໃຫ້ສະຫວ່າງທົ່ວແມ່ນ້ຳຂອງເປັນເວລາ 7 ວັນ 7 ຄືນເພື່ອຂໍໃຫ້ພະຍານາກຊູເອົາເຮືອຂອງພຣະມະເຫສີ ແລະ ກຸມມານນ້ອຍໄວ້ບໍ່ໃຫ້ໄຫຼລົງສູ່ທະເລ(ຕຳນານເລົ່າໄວ້ວ່າພະຍານາກໄດ້ສ້າງຫຼີ່ຜີຂື້ນ ຈຶ່ງປາກົດເປັນດອນຂີ້ນາກ ເພື່ອກັ້ນແມ່ນ້ຳຂອງ ເຮັດໃຫ້ແພຂອງອົງກຸມມານນ້ອຍໄຫຼຂື້ນເໜືອຈົນເຖິງເກາະເຂີນ) ການທີ່ ບູຊາພະຍານາກໂດຍການຈູດທູບ,ທຽນ,ໂຄມໄຟ ໄປຕາມແມ່ນ້ຳຂອງນີ້ເອງ ຈຶ່ງເກີດມີປະເພນີໄຫຼເຮືອໄຟຂອງລາວເຮົາຄັ້ງທຳອິດ ແລະ ປະຕິບັດກັນແຕ່ນັ້ນມາຈົນເຖິງປັດຈຸບັນ. ດ້ວຍເຫດນີ້ເອົງຊຸມຊົນທີ່ຕັ້ງຂື້ນເທິງເກາະເຂີນ ຈຶ່ງໄດ້ຖືກຂະໜານນາມວ່າ ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳ ຕາມຊື່ກຸມມານນ້ອຍນັ້ນ ເຊິ່ງມີນາມວ່າ ສຸວັນນະມຸຂະທາວາຣະ ແລະ ໂຄມເຊ່ິງຈູດບູຊາພະຍານາກເຊິ່ງເອີ້ນວ່າ ໂຄມຄຳ. ຕາມຕຳນານຂອງປະເທດສີລັງກາ ເຊິ່ງທ່ານຟັງຊິດການເຍ ຂຽນໄວ້ໃນໜັງສືສຳຫຼວດແມ່ນ້ຳຂອງ ຂອງທ່ານໃນສະຕະວັດທີ XIX ກ່າວໄວ້ວ່າເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳປາກົດຕົວໃນສະຕະວັດທີ V ຂອງຄຣິດຕະການ ແລະ ຕາມຕຳນານນ້ຳຖ້ວມໂລກຊຶ່ງໄດ້ກ່າວເຖິງພຣະຍາສີສັດຕະນາກ ທີ່ຄອງເມືອງໜອງກະແສແສນຍ່ານ ໄດ້ນຳກຳລັງ 7 ໂກດ(7 ພັນລ້ານຄົນ)ຍົກລົງມາຕາມແມ່ນ້ຳຂອງ ແລະ ເປັນຕົ້ນກຳເນີດຂອງນາກ 15 ຕະກູນໃນຫຼວງພະບາງ ແລະ ຕໍ່ມາຊາວເມືອງໂພທິສານຫຼວງ(ສີໂຄດຕະບູນ ຫຼື ສີໂຄດຕະບອງ ເປັນຊື່ຂອມ). ຕຳນານຍັງບອກວ່າເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳນັ້ນເຕີບໂຕຢ່າງວ່ອງໄວພຽງແຕ່ 3 ປີເທົ່ານັ້ນ ບ້ານເມືອງຂອງຣາຊະດອນມີເຖິງ 3 ແສນຫຼັງ.ແຕ່ຕໍ່ມາມີການປະພຶດບໍ່ຊື່ສັດກັບພໍ່ຄ້າ ເຊິ່ງເປັນພວກນາກຊາວຫຼວງພະບາງ ເຮັດໃຫ້ເກີດການຂັດແຍ້ງກັນ ຊາວຫຼວງພະບາງຈຶ່ງໄດ້ນຳກຳລັງມາບຸກທຳລາຍເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳຈົນຮາບຄາບ ເຮັດໃຫ້ຊາວເມືອງແຕກຕື່ນອົບພະຍົບໄປທຸກທິດທາງ ເຊັ່ນ:ໜີເຂົ້າອຸໂມງໄປສີສັດສະນາໄລ ແລະ ຫຼວງພະບາງ ໂດຍໄດ້ນຳປະເພນີໄຫຼເຮືອໄຟໄປປະຕິບັດ ຈຶ່ງເກີດມີການແພ່ຂະຫຍາຍວັດທະນະທຳນີ້ຢ່າງກວ້າງຂວາງ. ຕໍ່ມາຍັງມີຕະກູນນາກລາວຈົກ ຄືລາວທາງພາກເໜືອຂອງແຂວງຊຽງຣາຍ(ໄທ)ໄດ້ມາສ້າງນະຄອນສຸວັນນະໂຄມຄຳຂື້ນອີກຄັ້ງ ຕາມຕຳນານມີກຳແພງເມືອງອ້ອມຮອບ 4 ດ້ານ ແຕ່ລະດ້ານຍາວ 3 ພັນວາ. ດ້ວຍເຫດນີ້ ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳທີ່ຫາຍສາບສູນໄປແລ້ວຈຶ່ງໄດ້ຊ່ຶເອີ້ນໃໝ່ວ່າ ນາເຄນທະຣະນະຄອນ,ນາກບູຣີ,ເມືອງນາກພັນທຸສີງຫະນະວັດນະຄອນ ຫຼື ນະຄອນຊຽງລາວເນື່ອງຈາກວ່າຊາວລາວພາກ ເໜືອ(ນາກ)ເປັນຜູ້ສ້າງຂື້ນນອກຈາກຊື່ຕ່າງໆແລ້ວນັ້ນ ໃນຕຳນານຕ່າງໆຂອງຊາວລາວພາກເໜືອ ແລະ ຕຳນານ ທ້າວຮຸ່ງ-ທ້າວເຈືອງ ໄດ້ເອີ້ນວ່າ ນະຄອນເງິນຍາງ ຫຼື ນະຄອນເງິນຍວງ ຕໍ່ມາເມື່ອພະຍາ ແສນພູໄດ້ຂື້ນຄອງເມືອງດັ່ງກ່າວໄດ້ອີກຊື່ໜຶ່ງວ່າ ນະຄອນຊຽງແສນ(ເກົ່າ). ຕະກູນລາວຈົກໄດ້ຄອງນະຄອນຊຽງລາວ,ນາກບູຣີ ຫຼື ນະຄອນເງິນຍາງມາຕະຫຼອດ 43 ຣາຊະສະໄໝ ຈົນເຖິງສະໄໝຂຸນເຈືອງ ກະສັດລາວຜູ້ທຳອິດທີ່ລວບລວມເຜົ່າຕ່າງໆໃຫ້ເປັນອານາຈັກດຽວກັນຢູ່ທາງ ພາກເໜືອ ເມື່ອ ຄ.ສ 1096 ຂຸນເຈືອງໄດ້ຍົກກອງທັບມາພິຊິດຫຼວງພະບາງ,ຊຽງຂວາງ ແລະ ເມືອງປະກັນ(ແຄວ້ນແກວຈີ ຂອງຫວຽດນາມ)ຈາກນັ້ນກໍລວມເປັນອານາຈັກດຽວກັນ ໂດຍສະເພາະລວມ ຕະກູນນາກ ແລະ ຕະກູນຂອມເຂົ້າດ້ວຍກັນ ສະນັ້ນຈຶ່ງຖືໄດ້ວ່າພຣະອົງເປັນກະສັດຜູ້ຍິ່ງໃຫຍ່ພຣະອົງໜຶ່ງຂອງບັນດາຊົນຊາດລາວ.ອານາຈັກຂອງຂຸນເຈືອງຫຼົ້ມສະລາຍໃນຣາຊະສະໄໝທີ 4 ຂອງກະສັດຫຼວງພະ ບາງຄື ສະໄໝຂອງຂຸນກັນຮາງ ຜູ້ເຊິ່ງເປັນເຫຼັນໂຫຼນຂອງຂຸນເຈືອງ ຫຼັງຈາກພ່າຍແພ້ໃຫ້ແກ່ກອງທັບຂອງຂຸນລໍ ທີ່ຍົກທັບມາຈາກເມືອງແຖນ(ດຽນບຽນຟູ ຂອງຫວຽດນາມ). ເມືອງສຸວັນນະໂຄມຄຳເຊິ່ງເປັນຊື່ເອີ້ນທຳອິດຂອງນະຄອນບູຮານແຫ່ງນີ້ ນັບວ່າໄດ້ຜ່ານການຖືກທຳລາຍ ແລະ ສ້າງຂື້ນໃໝ່ຫຼາຍຄັ້ງຫຼາຍຫົນ ແລະ ມີຊື່ເອີ້ນຕ່າງໆນາໆ ໃນທີ່ສຸດກໍ່ເຫຼືອໃຫ້ພຽງແຕ່ເມືອງຮ້າງທີ່ ໜ້າສະເທືອນໃຈ. ປັດຈຸບັນນີ້ພະແນກວັດທະນະທຳແຂວງບໍ່ແກ້ວ ແລະ ກະຊວງຖະແຫຼງຂ່າວ ແລະ ວັດທະນະທຳ ໄດ້ມີມາດຕະການອະນຸລັກ ແລະ ປະກາດເປັນປູຊະນິຍະສະຖານແຫ່ງຊາດ ເປັນສະຖານທີ່ອະນຸລັກ ແລະ ຫວງຫ້າມ ເປັນອຸທິຍານແຫ່ງການສຶກສາຫາຄວາມຮູ້,ແຫຼ່ງທ່ອງທ່ຽວ ແລະ ພັກຜ່ອນຍ່ອນໃຈຂອງຄົ້ນຄວ້າ,ນັກສຶກສາ ແລະ ນັກອະນຸລັກນິຍົມ.ນອກຈາກນີ້ລັດຖະບານລາວ-ໄທຍັງໄດ້ມີຄວາມຮ່ວມມືກັນໃນການຮ່ວມກັນ ຂື້ນທະບຽນເມືອງເກົ່າສຸວັນນະໂຄມຄຳ(ລາວ) ແລະ ເມືອງຊຽງແສນເກົ່າ(ໄທ)ຂື້ນເປັນມໍລະດົກໂລກຮ່ວມກັນອີກດ້ວຍ. ອອກໄປບໍ່ໄກຈາກປູຊະນິຍະສະຖານແຫ່ງນີ້ ມີສິ່ງດຶງດູດໃຈນັກທ່ອງທ່ຽວທີ່ມາສະຖານທີ່ແຫ່ງນີ້ຄື:ບໍ່ນຳຮ້ອນ,ຕົ້ນໄມ້ຫາຍາກຫຼາຍຊະນິດ, ຮ່ອງຮອຍອະດີດສາມຫຼຽມຄຳ,ຖ້ຳຄູຫາ ແລະ ວິຖີຊີວິດຂອງຊົນເຜົ່າຕ່າງໆ ທີ່ຫຼາກຫຼາຍ ນອກຈາກນີ້ພໍຮອດມື້ບຸນອອກພັນສາ ກໍຈະໄດ້ເບິ່ງການໄຫຼເຮືອໄຟບູຊາພະຍານາກ ບ່ອນທີ່ເປັນຕົ້ນກຳເກີດຂອງປະເພນີນີ້ ແລະ ເມື່ອເຖິງລະດູດອກງິ້ວບານ ກໍຈະມີການຈັດປະກວດນາງສາວດອກ ງິ້ວບານ ແລະ ມີຮ້ານຂາຍເຄື່ອງຂອງທີ່ລະນຶກຕ່າງໆ.