ประวัติพระสมศักดิ์
สมจิตฺโต
พระสมศักดิ์
สมจิตฺโต (วิไลผล) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2532 เชื้อชาติลาว
สัญชาติลาว เกิดที่บ้านดอนเงิน อำเภองอย จังหวัดหลวงพระบาง ประเทศ สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตย ประชาชนลาว บิดาชื่อ นายคำผาย วิไลผล (เสียชีวิต) มารดาชื่อ นางบัววอน
วิไลผล อัตมาเป็นบุตรคนที่ 4 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
5 คน คือ 1.นายโกวิ่น วิไลผล 2.นายอินทะสอน 3.นายวิสิทธิ์
วิไลผล 4.พระสมศักดิ์
วิไลผล และ 5.นายสมพงศ์
วิไลผล พี่ชายทั้ง 3 คน มีแต่งงานแล้ว
น้องชายก็ทำงาน แยกย้ายกันไปทำการทำงานสร้างครอบครัว โยมแม่อาชีพทำสวนอยู่ที่บ้าน
ครอบครัววิไลผล
(คนโตนับจากขวามาซ้าย)
|
เรื่องราวตั้งแต่วัยเด็ก
ภาพโรงเรียนบ้านดอนเงินที่เรียนอยู่ชั้นประถม
ตอนเป็นเด็กเวลาทำอะไรจะเชื่อฟังพ่อแม่ทุกอย่าง
เวลาพ่อแม่ไปไร่ไปสวนก็จะไปกับพ่อแม่ทุกครั้ง
เวลาพ่อแม่บอกให้ดูแลน้องก็จะดูแลอย่างดีไม่เล่นก็พาไปด้วย เวลาว่าง ๆ
ก็จะพาเพื่อนไปเล่นยางบ้าง ตัดกิ่งไม้มาทำลูกข่างเล่น
จัดไม้มาทำเป็นดาบไล่ตีกันเล่น ว่ายน้ำแข่งกัน เล่นทุกอย่างยกเว้นยาบ้า สุรา
และบุหรี่ ชอบเล่นไพ่ เช่น
เวลาบ้านญาติหรือคนในบ้านคลอดลูกเขาก็จะมีพิธีกรรมนั่งคำเดือน หรืองานเฮือนเย็น
(งานศพ) ก็จะเอาไพ่มาเล่นกันเป็นประจำ ทีแรกก็เล่นไม่เป็น
ผู้ใหญ่พาเล่นเราก็อยากจะเล่นด้วย เพราะเห็นว่ามันมันสนุกดี เล่นเอาลูกอมบ้าง
กินน้ำบ้าง แต่ไม่เล่นเอาสะตาง ชอบปกป้องน้องชายตัวเองไม่ให้คนอื่นมารังแก
มีอยู่วันหนึ่งพากันไปเล่นยาง น้องชายยิงแม่นมากไปเลยทีไรได้ทุกครั้งเลย
ไอ้คนแพ้หาว่าน้องชายเราขี้โกง หาว่ายืนเลยเส้นขีด ไม่รู้จริงหรือเปล่า
สุดท้ายก็ผิดหัวกันจนได้ จะต่อยกันไอ้เราเป็นพี่ชายก็ต้องเข้าไปห้ามไม่ก็ยอมสุดท้ายก็เจ็บทั้งคู่
เป็นคนที่ไม่ชอบให้คนมาดูถูก เป็นคนที่มีความอดทนสูงเวลาทำอะไรก็ต้องทำให้มันเสร็จ
ไม่ชอบทิ้งไว้แล้วค่อยมาทำต่อ
บางครั้งก็เอาแต่ใจถ้าพูดกับใครแล้วไปฟังไม่ตามใจก็จะทำคนเดียว เช่น
พ่อแม่บอกไปหาปลา ให้เราชวนคนนู้นคนนี้ไปขัดท้ายให้หรือไปช่วยพายเรือ ส่วนคนทึ่จะให้ไปด้วยมันก็ไม่ยอมอยู่ท้าย
ถ้าให้เราอยู่ท้ายมันก็ไม่ได้ดั่งใจ จำเป็นตัดสินใจไปคนเดียว
แต่พ่อแม่ก็เป็นห่วงไม่อยากให้ไปคนเดียวกลัวจะได้รับอันตราย
บางครั้งไปคนเดียวก็กลลับมาดึกจนบางครั้งพ่อแม่เรียกหา ชีวิตตอนวัยเด็กก็เป็นอย่างนะครับ
สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดก็คือการที่ได้ไปใช้ชีวิตอยู่กับคุณปู่-คุณย่า
อยู่คนละบ้านกัน เวลาไปเยี่ยมท่านก็จะขับเรือไปขึ้นไปเอง บ้างครั้งก็ไปช่วยงานญาติๆ
ทำนา เลี้ยงควาย เพราะที่บ้านไม่มีที่ทำไร่ทำนา มีที่ดินก็ทำสวนหมดปลูกไม้สักใส่หมด
ปลูกกล้วยบ้าง ผักสวนครัวบ้าง ส่วนมากจะทำค้าขายกัน
ซื้อเครื่องป่าของดงวันที่เขาเปิดตลาด คนชาวเขาก็จะสะพายของมาแลกเสื้อผ้าเครื่องอุปโภคบริโภค
ยาหลวง และน้ำมันไต้ตะเกียง ได้ข้าวเปลือก เครื่องป่าของดงก็เอาไปขายต่อ
บางครั้งก็มีแม่ค้ามาซื้อที่บ้านทำอยู่อย่างมา 20 กว่าปี
เพื่อหาเงินเลี้ยงลูก 5 คน
คิดไปก็นึกสงสารพ่อแม่ทำงานหนักมาก ต้องตื่นแต่เช้าๆ มือ หาบเครื่องลงเรือเอาไปขายต่างบ้าน
หาบของขึ้นๆลงๆ เป็นประจำ เวลาไม่มีเรียนผมก็จะไปค้าขายกับพ่อแม่ทุกครั้ง
เป็นการแบ่งเบาภาระช่วยพ่อแม่ได้อย่างมาก แต่ที่หนักที่สุดคือแบกข้าวเปลือกและถังน้ำมัน
บางครั้งก็จ้างคนงานจ้างแบกมาตลอด และช่วงที่อยู่กับคุณตา-คุณยายก็จะช่วยท่านเลี้ยงควาย
และทำนา อยู่บ้านตายายมีเพื่อนเยอะกว่าบ้านตัวเอง ตอนวัยเด็กสนุกและมีความสุขมาก
อยู่กับคุณตาคุณยายกับญาติพี่น้องก็มีความสุข หาเช้ากินค่ำไปตามภาษาชาวบ้าน
คุณตาคุณยายก็รักหลานทุกคน เพราะหลานๆ มีแต่ผู้ชายเป็นส่วนมาก
มีกำลังพอที่จะช่วยงานได้ก็พาไปเลี้ยงควาย
มีทั้งควายที่โยมพ่อ-แม่ซื้อมาให้เลี้ยงอยู่กับควายญาติๆ
อยู่ที่นั่นต้องตื่นแต่เช้าทุกวัน เพราะจะต้องเอาควายไปกินหญ้าแล้วก็ไปนา ไปกินข้าวเช้าอยู่เถียงนา
ตอนเย็นขากลับก็จูงควายกลับมาบ้าน
บางครั้งก็หาปูหาปลากลับบ้านมาด้วยทำอยู่อย่างเป็นประจำทุกครั้งที่มาอยู่กับคุณตาคุณยายจะขี้เกลียดไม่ได้เด็ดขาดคุณตาเป็นคนเอาการเอางานมาก
ถึงแม้จะท้อเป็นบางเวลาก็ไม่เหน็ดเหนื่อย แต่ก็มีอยู่สองสามครั้งที่ร้องไห้เพราะควาย
ครั้งแรกก็คือตกหลังควายเพราะยังไม่ได้ฝึก
พอขึ้นขี่หลังมันก็วิ่งสุดขีดเลยอาจตื่นตกใจอะไรก็ไม่รู้
วิ่งไปชนใส่รั้วไม้ไผ่จนตกหลังควายไม่รู้ตัวเลย
ครั้งที่สองควายที่เอาไปปล่อยกินหญ้าปกติเย็นๆ พวกมันก็จะกลับมาบ้านเอง
ซึ่งวันนั้นฝนก็ตกแรงด้วยจนมืดควายก็ยังไม่มาคุณตาก็สั่งให้ไปตามหาก็
ไอ้เราก็ไม่อยากไปเท่าไหร่เพราะมันจะมืดแล้วฝนก็ตกด้วย
แถมทางผ่านก็เป็นป่าช้าซะด้วยตอนกลางวันไม่กลัวเท่าไหร่พอกลางคืนมันยิ่งน่ากลัวมาก
ไม่ไปก็ไม่ได้กลัวควายหายเลยจำเป็นต้องไปกับเขาแต่ก็ไม่เจอ
พอรุ่งเช้าจึงเห็นพวกมันกลับมาบ้านจากนั้นก็เฝ้าดูแลมันตลอด คิดว่าพวกมันอาจหลบฝนที่ไหนสักแห่งจนหาทางกลับบ้านไม่ได้
นี้ก็เป็นอีกเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่เคยลืม
วัดหาดคีบเก่าที่บรรพชาสามเณร
บรรพชาเมื่อวันที่ 15
มิถุนายน พ.ศ.2547 พระอุปัชฌาย์ชื่อ สาธุใหญ่ พูมมา โพธิโก
อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านหาดคีบ อดีตเจ้าคณะอำเภองอย อำเภองอย จังหวัดหลวงพระบาง
สปป.ลาว ภาษาลาว คำว่า “สาธุใหญ่” หมายถึง
พระอาจารย์ใหญ่หรือตุ๊เจ้าหลวงนั่นเอง
ท่านเป็นพระมหาเถระโดยพรรษาและตำแหน่งระดับเจ้าคณะอำเภอ ปกครองคณะสงฆ์ทั้งอำเภอ
ตอนนี้ท่านได้มรณภาพไป
|
ภาพเคลื่อนแม่น้ำอูแห่งที่
2 บ้านหาด
ได้หลายปีแล้ว
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมไม่บวชอยู่วัดบ้านเกิดตนเองทั้ง ๆ ที่
วัดที่บ้านก็มีพระเหมือนกัน คือตอนนั้นก็ยังไม่คิดด้วยซ้ำว่าจะได้บวชเป็นสามเณรและไปเรียนต่อที่เมืองหลวงพระบาง
พอโยมพ่อไปติดต่อวัดได้ถึงมาบอกว่าจะให้บวชเรียน ก็รู้สึกแปลกใจไปนิดหนึ่ง
แต่ช่วงนั้นเพื่อนๆ ที่เรียน ม.2 ด้วยก็มีแนวคิดที่จะบวชเหมือนกัน
พอได้กำหนดวันจะบวชก็ไปวัดขอยืมหนังสือเจ้าอาวาสมาท่องคำบรรพชา จนท่องได้หมดแล้วโยมพ่อแม่ก็พาไปบวชที่วัดหาดคีบ
ซึ่งเป็นบ้านของโยมแม่ ตากับยายและญาติก็อยู่ที่นั่นด้วย เวลาไปบ้านหาดคีบก็ต้องไปด้วยเรืออย่างเดียว
แต่ก่อนยังไม่มีถนน แต่ก่อนแม้แต่ไฟฟ้าก็ยังไม่มี นั่งเรือไปก็ใช้เวลาประมาณ 40 นาที แม่น้ำชื่อว่า “แม่น้ำอู” เป็นแม่น้ำอันแห่งที่
2 ที่ยาวที่สุดในประเทศลาวรองจากแม่น้ำโขง
ก่อนจะถึงบ้านหาดคีบต้องผ่านบ้านปากงาไปหนึ่งบ้านก่อน
ก่อนที่จะบวชเป็นสามเณร
โยมพ่อได้ไปหาวัดในเมืองหลวงพระบางให้ก่อน
พอดีมีสามเณรที่เป็นญาติกันบวชอยู่วัดป่าไผ่ มีชัยยาราม
ก็เลยขอวัดให้ไปอยู่ด้วยจะได้ดูแลแนะนำบอกสอน
เมื่อรู้กำหนดวันจะบวชก็รีบหาหนังสือคำขอบรรพชามาท่องใช้เวลาเพียงห้าวันก็ท่องได้หมดเลยรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่จะได้บวช
เมื่อถึงวันก็พากันขึ้นมาบ้านคุณตาคุณยายทั้งครอบครัว ญาติ ๆ
ก็ช่วยกันแต่งดาเครื่องบายศรีนาคและอาหารการกิน พอรุ่งเช้าของวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547 ตอนเช้า เวลา 08.30 น. หลังจากทานข้าวเสร็จก็เข้ามาวัด
ให้พี่ชายโกนผมให้เสร็จแล้วก็มาเข้าพิธีบายศรีสู่ขวัญนาคตามประเพณีที่บ้านคุณตา-คุณยาย
หลังจากนั้นก็แห่นาคมาวัดเพื่อจะขอบรรพชากับท่านเจ้าอาวาส พระอาจารย์ใหญ่ พูมมา
โพธิโก ท่านยังเป็นเจ้าคณะอำเภออีกด้วยในขณะนั้น
หลังจากบวชเป็นสามเณรเสร็จเรียบร้อยก็นอนพักที่วัดหนึ่งคืนตื่นชั้นข้าวเช้าเสร็จก็ออกเดินทางมาเมืองหลวงพระบาง
ในการบวชวันแรกจะรู้สึกเหงามากมันบอกไม่ถูก
และเริ่มอยากจะรู้ว่าการบวชเป็นสามเณรมันต่างการเป็นฆราวาสตรงไหน
แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาและไม่รู้จะถามใคร แม้แต่จะห่มผ้าก็ยังไม่เป็นคิดอยู่ในใจ
“จะรอดมั้ยเนี่ย” จนได้ย้ายเข้ามาอยู่วัดป่าไผ่ มีชัยยาราม บ้านเชียงม่วน
อำเภอเมือง จังหวัดหลวงพระบาง เมื่อวันที่ 16
มิถุนายน พ.ศ.2547ก่อนที่จะบวชเป็นสามเณร โยมพ่อได้ไปหาวัดในเมืองหลวงพระบางให้ก่อน พอดีมีสามเณรที่เป็นญาติกันบวชอยู่วัดป่าไผ่ มีชัยยาราม ก็เลยขอวัดให้ไปอยู่ด้วยจะได้ดูแลแนะนำบอกสอน เมื่อรู้กำหนดวันจะบวชก็รีบหาหนังสือคำขอบรรพชามาท่องใช้เวลาเพียงห้าวันก็ท่องได้หมดเลยรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่จะได้บวช เมื่อถึงวันก็พากันขึ้นมาบ้านคุณตาคุณยายทั้งครอบครัว ญาติ ๆ ก็ช่วยกันแต่งดาเครื่องบายศรีนาคและอาหารการกิน พอรุ่งเช้าของวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547 ตอนเช้า เวลา 08.30 น. หลังจากทานข้าวเสร็จก็เข้ามาวัด ให้พี่ชายโกนผมให้เสร็จแล้วก็มาเข้าพิธีบายศรีสู่ขวัญนาคตามประเพณีที่บ้านคุณตา-คุณยาย หลังจากนั้นก็แห่นาคมาวัดเพื่อจะขอบรรพชากับท่านเจ้าอาวาส พระอาจารย์ใหญ่ พูมมา โพธิโก ท่านยังเป็นเจ้าคณะอำเภออีกด้วยในขณะนั้น
ภาพบ้านหาดคีบ
(บ้านจัดสันใหม่)
ปัจจุบันนี้บ้านหาดคีบถูกอพยพมาตั้งรากฐานใหม่เรียกว่า
“บ้านจัดสัน”
เนื่องจากทางรัฐบาลได้อนุมัติให้จีนมาสัมปทานทำโครงการสร้างเคลื่อนไฟฟ้าน้ำอูแห่งที่
2 ขั้นกลางหมู่บ้านหาดคีบ
และสั่งให้ชาวบ้านอพยพย้ายบ้านมาอยู่ริมถนนติดกับบ้านปากงา จากนั้นทางการจีนได้มาเวนคืนพื้นที่ใหม่
และสร้างบ้าน สร้างวัดใหม่ให้กับชาวบ้าน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามการที่ทำชาวบ้านต้องย้ายจากบ้านเก่ามาอยู่บ้านจัดสันใหม่ย่อมทำให้ชาวบ้านเสียความรู้สึกเพราะผลที่ได้รับไม่เป็นไม่ตามที่ทางการจีนจะกระทำให้
บอกว่าจะชดใช้ค่าเสียหาย จะดูแลเยียวยาประชาชนตามสัญญา 3 ปี
เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ก็ไม่ได้ช่วยเหลือแต่ประการใด
ที่ไร่ที่นาที่สวนชาวบ้านสูญหายหมด ไม่มีที่ทำกิน
ตอนนี้บ้านเก่าก็เหลือแต่วิหารที่อัตมาบวชเป็นสามเณรซึ่งทางการจีนยังไม่รื้อถอน
อุปสมบทภิกษุ
ภาพเถราพิเษกจากเจ้าม่อมเป็นสาธุ
คำว่า
“เจ้าม่อม” คือ พระภิกษุ หมายถึง ภิกษุบวชใหม่ จากนั้นเมื่อถึง 3 พรรษา จึงมีศรัทธาขอเถราภิเษก
(หดสรง) เป็น “สาธุ” แปลว่า ดีแล้ว เป็นชื่อเรียกพระสงฆ์เฉพาะหลวงพระบาง
ถ้าเป็นจังหวัดอื่นในลาวก็จะเรียกแตกต่างกันไป เช่น ครูบา พระอาจารย์ หรือ ยาท่าน ยาครู
เป็นต้น การที่จะอุปสมบท ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับอัตมา เพราะกลัวว่าจะท่องคำอุปสมบทไม่ได้
ซึ่งการบวชเณรกับบวชพระมันต่างกัน แต่โชคดีที่รู้ว่าจะได้อุปสมบทหมู่ คือ บวชกัน 3 รูป ก็เลยรับตกลงกับหลวงพ่อ พระพูมมา พรมฺมสาโร
เจ้าอาวาสวัดป่าไผ่ มีชัยยาราม เนื่องจากท่านเป็นเจ้าภาพในการอุปสมบททั้ง 3 รูปพร้อมกัน
ท่านก็ดีใจมากที่ได้บวชพระลูกศิษย์ก่อนสิ้นลมหายใจ ท่านมรณภาพเมื่ออายุ 97 ปี พ.ศ.2554 เมื่อทราบข่าวว่าท่านมรณภาพแล้วก็กลับไปเสียศพท่านจนกว่าเสร็จงานจึงกลับมาศึกษาเล่าเรียนต่อที่ประเทศไทย
วัดป่าไผ่
มีชัยยาราม
ວັດປ່າໄຜ່ ມີໄຊຍາຣາມ ເມືອງຫຼວງພະບາງ ແຂວງຫຼວງພະບາງ
วัดป่าไผ่
มีชัยยาราม สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2308-2334 โดยพระเจ้าสุริยะวงศาธิราช
กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาวล้านช้าง ตั้งอยู่ถนนสักกะลิน บ้านเชียงม่วน
เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว ขณะนั้นมี พระพูมมา พรมฺมสาโร
เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าไผ่ มีชัยยาราม หลังจากท่านได้มรณภาพไปก็มีพระเพื่อนด้วยกันรับหน้าที่ดูแลวัดแทน
และปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าไผ่ มีชัยยาราม จนถึงปัจจุบัน
พระพูมมา
พรมฺมสาโร อดีตเจ้าอาวาสฯ
การที่มาบวชครองเพศบรรพชิตทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ
อย่าง ที่สำคัญก็คือ ต้องมีความอดทน มีระเบียบวินัย เชื่อฟังครูบาอาจารย์
แค่นี้ก็อยู่ร่วมกันได้แล้ว อัตมาก็ใช้วิตอยู่แบบนี้มาเรื่อยๆ จนครบอายุ 20 ปี
ก็ได้ลาสิกขาไปสอบจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 ที่โรงเรียน ม.ส. ชัยเชษฐา เมืองชัยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์
หลังจากสอบเสร็จแล้วก็กลับมาอุปสมบทอยู่ที่วัดป่าไผ่ มีชัยยาราม ได้ 1 พรรษา
และย้ายมาศึกษาต่อที่ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2553
ประวัติการศึกษา
แต่ก่อนจะเปิดรับสมัครเรียนปีนั้น
พ.ศ.2547 ซึ่งเป็นปีแรกที่ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ออกประกาศไปยังพระสงฆ์สามเณรทุกรูปที่จะมาสมัครเรียนใหม่ให้สอบท่องบทสวดมนต์ผ่านก่อนแล้วถึงจะรับสมัครเข้าเรียน
สถานที่สอบคือ วัดปากคาน วัด สาธุใหญ่อ่อนแก้ว กิตฺติภัทฺโท
เจ้าคณะอำเภอเมืองหลวงพระบาง ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะแขวงหลวงพระบาง
และได้มาสร้างโรงเรียนสงฆ์ที่วัดบ้านเกิดท่านคือวัดป่าผาโอ ห่างจากเมืองหลวงพระบางออกไปทางเหนือ
ประมาณ 20 กม.
เวลาสอบเสร็จแล้วเค้าจะออกใบรับรองให้ว่าคุณสอบผ่านแล้ว
สามารถนำใบรับรองไปยื่นสมัครเข้าเรียนต่อมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตอนนั้นจ่ายค่าธรรมเนียมเพียง 15,000 กีบ เท่ากับ 60 บาท ต่อคน/ปี
ปัจจุบันค่าธรรมเนียมแพงมากไม่ต่ำกว่า 800
ต่อคน/ปี
ถ้าเทียบกับเมื่อก่อน สมัยนั้นการเรียนก็ยังเรียบง่ายอยู่เพราะเป็นเมืองมรดกโลก
คนต่างชาติมาเที่ยวหลวงพระบางกันเยอะมากในแต่ละปี ส่วนมากก็จะมีนักท่องเที่ยวจากไทยและยูโรปกันเยอะ
ช่วงฮายซีชั่นก็จะเป็นช่วงฤดูหนาวและช่วงสงกรานต์ เป็นต้น
การที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเที่ยวลาว
โดยเฉพาะเมืองหลวงพระบาง ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม
มีวัดวาอารามที่เก่าแก่และงดงาม และมีประวัติศาสตร์วัตถุโบราณมายาวนาน
นอกจากนั้นก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งอีกด้วย
ทำให้พระสงฆ์สามเณรมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเรียนภาษาต่างประเทศกันมากขึ้น
โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นภาษาสากล เวลาฝรั่งเข้ามาวัดถามโน่นนี่ก็ตอบเค้าไปไม่ได้
เลยจำเป็นต้องไปเรียนพิเศษตอนกลางคืน หลังจากทำวัตรเย็นเสร็จพระเณรก็จะพากันไปเรียนพิเศษกันเยอะมากรวมทั้งอัตมาด้วย
การเดินทางไปเรียนก็ใช้เวลาเกือบ 30 นาที เดินด้วยเท้าสะพายย่ามไปเรียนพิเศษ
เป็นเวลาอยู่ 2 ปี
ปีแรกก็พอพูดได้นิดหน่อยแต่เราอยากจะทวนบทที่เคยเรียนมาก็เลยตัดสินใจเรียนอีกปี สามารถนำความรู้มาถ่ายทอดสู่สามเณรรุ่นน้องต่อไป
เป็นการฝึกทักษะการสอนของตัวเองไปด้วย พูดคุยกับฝรั่งบ้างอะไรบ้างก็ได้พื้นฐานภาษาอังกฤษมาพอสมควร
อัตมาบวชเป็น สามเณรเป็นเวลา 5 ปี
ซึ่งกำลังจะจบมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6
อายุก็ใกล้จะครบ 20 ปี เจ้าอาวาสวัดป่าไผ่มีชัยยาราม
ขอรับเป็นเจ้าภาพการอุปสมบทให้ข้าพะเจ้า ยังอีกหนึ่งเดือนจะครบ 20 ปี
พอมาถึงเดือนเมษายนก่อนสงกรานต์อัตมาภาพก็ได้ลาสิกขาชั่วคราวก่อนที่จะอุปสมบท
แต่ไม่ทันสอบ ม.6 ก็เลยขอย้ายไปสอบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ
ม.6 ที่โรงเรียน
มส.ชัยเชษฐา เมืองชัยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์
หลังสอบเสร็จก็กลับคืนมาหลวงพระบาง เพื่อขอบรรพชาอุปสมบทอีกครั้ง เพราะขณะที่เป็นสามเณรอยู่นั้นได้สมัครเรียนที่วิทยาลัยเอกชน
หลักสูตรชั้นสูง 2 ปี หรือ
(ป.ว.ส.) สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ณ
วิทยาลัยบริหารธุรกิจมณีวัน อำเภอเมือง จังหวัดหลวงพระบาง สปป.ลาว ตั้งแต่ พ.ศ.2550-2553 จบได้รับใบประกาศนียบัตรชั้นสูง (ป.ว.ส.)
ทั้ง 2 ใบ
หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุครบ
1 ปี ก็ได้เดินทางมาศึกษาเล่าเรียนต่อที่ประเทศไทยเมื่อปี
พ.ศ.2553 เดินทางข้ามด่านพรมชายแดนเวียงจัน-หนองคาย
ขึ้นรถทัวร์มาลงเชียงใหม่ เพราะว่ามีพระพี่ชายกำลังเรียนปริญญาโทอยู่ที่มหาลัยเชียงใหม่ก็คิดว่าจะอยู่เชียงใหม่กับพระพี่ชาย
แต่พอไปดูวัดแล้วก็ไม่มีที่พักเนื่องจากมีพระเณรอยู่กันเยอะมาก
อีกอย่างพระพี่ชายก็กำลังจะลาสิกขาและจบปริญญาโท ด้วย
ก็เลยคิดว่าจะมาเรียนที่มหาลัยสงฆ์ที่กรุงเทพฯ พอนั่งรถไฟจากเชียงใหม่มาลงกรุงเทพฯ
อากาศก็ร้อนอบอ้าวมากไม่สะดวกในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ พักอยู่กรุงเทพฯ
สองสามวันแล้วก็กลับมาอยู่เชียงราย
ทีแรกก็ไม่รู้ว่าจะได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุผาเงา เพราะคิดอย่างเดียวว่าถ้าไม่ได้เรียนจะกลับคืนไปอยู่หลวงพระบาง
แต่พอมาอยู่วัดพระธาตุผาเงา ก็ได้ตัดสินใจจำพรรษาไปก่อน
เพราะอีกแค่อาทิตย์เดียวจะเข้าพรรษาแล้วก็เลยอดทนจำพรรษา เรียนนักธรรม
และภาษาไทยไปก่อน ออกพรรษาแล้วค่อยว่าอีกที
ที่แรกก็ยังไม่ทราบว่าระบบการศึกษาประเทศไทยและประเทศลาวเปิดการเรียนการสอนไม่พร้อมกัน
เช่น ประเทศลาวกำลังสอบปิดเทอม ประเทศไทยเปิดเรียนไปก่อนแล้ว 1 เดือน
การมาเรียนต่อต่างประเทศจึงเป็นอุปสรรคอย่างมากสำหรับคนที่ไม่รู้ระบบการศึกษาของประเทศใกล้เคียง
เพราะจะต้องทำวีซ่านักศึกษาก่อนสมัครเรียนต่อมันมีระเบียบขั้นตอนเยอะแยะมากมาย
ปัจจุบันประเทศของพวกเราได้เปิดอาเซียนแล้ว
บางสถาบันการศึกษาก็เปิดการเรียนการสอนพร้อมกันในอาเซียน
แต่สำหรับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ยังเปิดไม่พร้อมกัน ยกเว้นสาขาภาษาอังกฤษที่เป็นอินเตอร์
ต่อมาปี พ.ศ.2554 อัตมาภาพฯ
จึงได้สมัครเรียนที่วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์
เอกบริหารรัฐกิจ ซึ่งสาขาวิชาที่ตนเองชอบมากที่สุดในบันดาสาขาต่างๆ ที่เปิดสอน
วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย เป็นวิทยาเขตหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยส่วนกลาง คือ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เวลาจบการศึกษาก็จะไปรับปริญญาที่นั่นทุกรูปทั่วประเทศ
การศึกษามหาวิทยาลัยของบรรพชิตในประเทศไทยมีอยู่เพียง 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มีสาขาวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ และห้องเรียนอยู่ทั่วทุกจังหวัด สังกัดมหานิกาย
และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีสขาวิทยาเขตอยู่หลายจังหวัดเหมือนกัน
สังกัดธรรมยุตนิกาย ทั้งสองแห่งนี้ค่อนข้างจะแตกต่างการมหาวิทยาลัยของทางโลกมาก
เพราะทุกสาขาวิชาก็จะเน้นศึกษาเกี่ยวพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เช่น พุทธประวัติ
พระไตรปิฎกศึกษา (พระวินัย, พระสูตร, พระอภิธรรม) และ บาลีศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยของสงฆ์ยังเน้นการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับพระนิสิตนักศึกษา
โดยเฉพาะกิจกรรมการปฏิบัติธรรมประจำปี
และทัศนศึกษาดูงานตามสถานที่สำคัญทางด้านพระพุทธศาสนาทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยของสงฆ์ทั้งสองแห่งได้เปิดรับสมัครนักศึกษาทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
และเน้นทั้งสองด้านคือวิชาทางโลกและทางธรรมไปพร้อมๆ กัน
ทำให้มีคนสนใจเข้ามาศึกษามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพระนิสิตต่างประเทศจากประเทศลาวก็มาเรียนกันเยอะ
ซึ่งอัตมาภาพเองเป็นผู้ก่อชมรมนักศึกษาสงฆ์ลาวเชียงราย
ขณะนั้นมีพระสงฆ์สามเณรลาวเรียนปริญญาตรีด้วยกัน จำนวน 10 กว่ารูป เรียนพระปริยัติธรรม 5-6 รูป และ ก.ศ.น. อีก 2-3 รูป ก็มารวมตัวกันก่อตั้งเป็นชมรมพระนิสิตลาวขึ้นอย่างเป็นทางการ
ประจำปีการศึกษา 2555 เพื่อดูแลซึ่งกันและกัน
โดยเฉพาะเรื่องการทำเอกสารวีซ่าประจำปี การเดินทาง สถานที่พักอาศัย
และดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสมาชิกในชมรม
นอกจากนี้ก็ยังจัดกิจกรรมโครงการเสริมหลักสูตรและทัศนศึกษาดูงานประจำทุกๆ ปี
ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเกิดขึ้นในชมเราของพวกเรา
ซึ่งมีการจัดการเลือกตั้งประธานคนใหม่ทุกๆ 2 ปี เพื่อหมุนเวียนกันดูแลชมรมต่อไป
ภาพรับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หลังจากเรียนจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาลัยสงฆ์เชียงรายเรียบร้อยก็มาสมัครลงทะเบียนเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สาขาการบริหารการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ถึงปัจจุบัน
บางคนอาจคิดสงสัยว่าทำไมพระไม่ไปเรียนของมหาวิทยาลัยของสงฆ์
โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงการราชวิทยาลัย ซึ่งเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก เหมือนกันกับมหาวิทยาลัยทางโลกทุกประการ
บางคนอาจชอบเรียนมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด หรือสอบได้ทุนเรียนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรืออาจเรียนอยู่จังหวัดของตนเอง
ซึ่งอาตมาเข้าใจว่าการศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการยกระดับเพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพหรือนำใบประกาศนียบัตรไปสมัครงาน
แต่ถ้าเรียนไปด้วยหางานทำไปด้วยก็จะได้ทั้งความรู้และประสบการ
สำหรับพระแล้วก็มีงานทำเหมือนกันอันเป็นกิจของสงฆ์เพื่อสนองงานเจ้าอาวาส
ก็อาศัยเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย
อีกอย่างเจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงาก็ไม่อยากให้ไปเรียนที่อื่น
เพราะเกรงว่าจะไม่มีใครอยู่ช่วยงาน อัตมาจึงตัดสินใจอยู่ต่อและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายก็มีสาขาวิชาที่น่าสนใจอยู่ก็คือ
สาขาการบริหารการศึกษา นั่นเอง
เพราะคิดว่าอนาคตอาจได้ทำงานในสถานศึกษาและสามารถเป็นผู้บริหารการศึกษาได้ในอนาคต สรุปรวมแล้ว
ตั้งแต่อายุ 8 ปี ถึงปัจจุบันอายุ
27 ปี ก็จะมีการศึกษามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอและต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ
จึงบอกกับตัวเองว่า “ถ้าบวชแล้วไม่ได้เรียนก็จะลาสิกขาและมาต่างประเทศแล้วไม่ได้เรียนก็จะไม่อยู่อย่างแน่นอน”
ที่บอกว่า ถ้าบวชแล้วไม่ได้เรียนก็จะลาสิกขา แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีศรัทธาที่จะบวช
แต่อยากจะศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมไปพร้อม ๆ กัน
การที่มาอยู่ประเทศไทยก็เช่นกันก็มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น
หลังจากเรียนจบแล้วก็จะกลับไปทำงานอยู่ที่บ้านหรืออาจครองเพศบรรพชิตต่อไป
ช่วงระยะเวลา
6 ปี
ที่มาอาศัยอยู่ประเทศไทยก็ได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เริ่มแรกก็ยังไม่รู้อะไรเท่าไหร่นักแต่ก็ค่อยๆ
ปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอยู่วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน
จังหวัดเชียงราย มีกิจกรรมหลายๆ ให้ทำทางด้านพระพุทธศาสนา เช่น การปฏิบัติธรรม
ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมและแผนกบาลี และอื่นๆ เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
เมื่อย้ายกลับไปอยู่บ้านก็สามารถนำความรู้และประสบการไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ประวัติการทำงาน
หลังจากได้มาอาศัยอยู่วัดพระธาตุผาเงา
เป็นเวลา 2 ปี
หลวงพ่อท่านเจ้าอาวาส ได้มอบหมายให้ช่วยดูแลเด็กศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นกรรมการฝ่ายสาธารณูปการ
และเป็นพระวิทยากรค่ายคุณธรรมจริยธรรม ของวัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน
จ.เชียงราย และยังได้ช่วยงานหลายๆ อย่างเกี่ยวกับวัดเป็นประจำทุกๆ วัน
แต่ก็เอาเวลามาสนใจการศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบัน
ที่อยู่ปัจจุบัน
391 วัดพระธาตุผาเงา
หมู่ที่ 5 ตำบลเวียง
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 57150
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 0861946340
เฟสบุ๊ค Somsack Samachitto Bhikkhu
คติธรรมประจำใจ “ความฮู้ยังน้อย ค่อยเพียนเอา”